โลกาวิวัฒน์ – สุวิทย์ เมษินทรีย์

ดังที่ทราบกันดีว่ากระแสโลภาภิวัตน์นั้นมีการวิวัฒน์อยู่ตลอดเวลา

ย้อนไปเมื่อ 500 ปีที่แล้ว มันเป็นกระแสโลกาภิวัตน์แบบ “รัฐภิวัตน์” (Globalization of Nation-States)

ถัดจากนั้นเข้าสู่ “บรรษัทภิวัตน์” (Globalization of Companies)
ปัจจุบันเทคโนโลยีสื่อสาร อินเตอร์เน็ต ทำให้โลกาภิวัตน์ปรับไปสู่ยุค“ปัจเจกภิวัตน์” (Globalization of People) เฉกเช่นปัจจุบัน

ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ เราจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจอย่างชัดเจนว่า โลกาภิวัตน์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

“รัฐภิวัตน์”เป็นเรื่องของ “ผู้ล่าอาณานิคม” กับประเทศที่เป็น “อาณานิคม” ดังนั้นโครงสร้างความสัมพันธ์จะเป็นลักษณะของ Core & Peripherals…ประเทศที่เป็นแกนกลาง และประเทศที่เป็นบริวาร
ขณะนั้นความสนใจสนใจของผู้ล่าอาณานิคมก็คือ การเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบ เข้าถึงแหล่งตลาดเหมือนกับที่อังกฤษครอบครองพม่า ครอบครองอินเดีย ฯลฯ เพื่อที่จะเข้าถึงอุปสงค์และอุปทานในประเทศนั้นๆ (Access to Supply and Demand)

ต่อมายุคก็เปลี่ยนไปมันมาสู่ยุคของ “บรรษัทภิวัตน์” เป็นยุคที่มองในแง่ของ “บริษัทแม่” กับ “บริษัทลูก”
มองในแง่ “Home Country” กับ ”Host Country” เพราะฉะนั้นคอนเซ็ปต์ก็จะมามองเรื่องการเคลื่อนย้ายทุนขนาดใหญ่ เรื่องของการแบ่งงานกันทำระหว่างประเทศ (International Division of Labor)

ประเทศนี้ทำเรื่องวิจัยและพัฒนา ประเทศนี้ทำเรื่องผลิต ฯลฯ ทำในสิ่งที่ประเทศนั้นๆ มีข้อได้เปรียบ แล้วนำมาประกอบกันแล้วนำมาขายในตลาดต่างๆทั่วโลก

ยุคนี้เปลี่ยนอีกแล้ว เปลี่ยนมาสู่ยุค “ปัจเจกภิวัตน์” ขณะนี้เทคโนโลยีต่างๆ ทำให้คนสามารถสร้างความแตกต่างได้ ระหว่างคนที่ฉลาด (Smart) กับคนที่ฉลาดกว่า (Smarter) ฉะนั้นโลกในอนาคตนั้นเป็นโลกของเครือข่าย เป็นโลกของการทำงานร่วมกัน เหมือนกระทรวงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทบวง กรม ก็จะต้องทำงานร่วมกันมากกว่านี้ รวมทั้งต้องทำงานร่วมกับเอกชนมากกว่านี้ ต้องไปทำงานร่วมกับภาคส่วนอื่นมากกว่านี้

ดังนั้นความสำคัญก็จะมาจากสองส่วน ส่วนแรกก็คือ “การติดต่อเชื่อมโยง” (Connectivity) ว่าเรามีคอนเนคชั่นกับคนอื่นได้มากน้อยแค่ไหน

แต่อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญก็คือ “ปฏิสัมพันธ์ต่อกัน” (Interactivity) ว่ามีให้กับคนอื่นได้มากน้อยแค่ไหน
ซึ่งทั้งสองส่วนนี้ก็จะเป็นกุญแจสำคัญที่จะขับเคลื่อน “ปัจเจกภิวัตน์” จากนี้ไป

Published in: on February 20, 2007 at 3:59 pm  Comments (16)  

The URI to TrackBack this entry is: https://thaicoon.wordpress.com/2007/02/20/%e0%b9%82%e0%b8%a5%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%92%e0%b8%99%e0%b9%8c-%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b9%8c-%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%a9/trackback/

RSS feed for comments on this post.

16 CommentsLeave a comment

  1. ในโลกที่มีการเปลียนแปลงตลอดเวลาเช่นนี้ แล้วจะอยู่รอดได้อย่างไร? ต้องใช้พลังมากมายเท่าใด? และในยามที่ท้อแท้ต้องนึกถึงอะไร? ในโลกที่อยู่ทุกวันนี้มีคำถามมากมายทั้งที่มีคำตอบที่ดีอยู่แล้ว และที่ยังค้นหากันตลอดชีวิต ท่ามกลางสังคมที่เปลี่ยนไปเราต้องอยู่รอด อยูเป็น สามารถสัมพันธ์กับคนอื่นในสังคมได้เพื่อสังคมไทยจะได้เป็นสังคมแห่งความสุข

  2. อยากได้ CD บลู โอเชี่ยน กับ วิเคราะห์เศรษฐีไทย อ่ะครับ ต้องทำไงบ้างครับ เพราะไม่ได้ไปสัมมนาง่ะ

  3. จริงๆ มันเป็นหลักของศาสนาพุทธ หรือเต๋าที่ตอนนี้ทางฝรั่งค่อนข้างนิยม และศึกษากันมาก (มากกว่าคนเอเชียด้วยกันเสียอีก)
    คำตอบคือ ทางสายกลาง หรือความสมดุลนั่นเอง สามารถประยุกต์ใช้ได้กับเรื่องเศรษฐกิจระดับชาติหรือแม้กระทั่งการใช้ชีวิตประจำวัน

    ทักษิโนมิก เห็นแก่ผลระยะสั้นมากกว่าระยะยาวครับ คนไทยอาจจะเคยชิน และเริ่มขาดความอดทนกับวินัยครับ กลับมาใช้แนวทางสมดุล หรือเศรษฐกิจพอเพียงจะดีกว่าในระยะยาวแน่นอน

    ผมว่าในหลวงของเราเนี่ย อัจฉริยะที่สุดแล้วในยุคนี้

  4. ผมว่าคนไทยเรายังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอยู่มากพอสมควรนะครับ กับคำว่าเศรษฐกิจพอเพียง ขนาดนักเศรษฐศาสตร์บางท่านยังมาคอมเมนต์ผ่านสื่อแล้วรู้สึกว่ามีความเข้าใจไม่ตรงกันกับที่ผมเข้าใจ ยิ่งวันนี้ได้ฟังธรรมะบรรยายที่ท่านเจ้าคุณ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุต.โต) ที่รายการอาจารย์วีระ นำมาเปิดให้ฟัง ผมยิ่งรู้สึกได้ถึงคำกล่าวข้างต้นเลยครับ

  5. ใน blog. นี้มีคนสนใจในเนื้อหาของเศรษฐกิจพอเพียงกันมากเลย ผมว่าเราก็ได้ ”ร่วมคิด” ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง กันมาพอสมควร คงถึงเวลาแล้วที่เราจะมา”ร่วมสร้าง”ว่าจะนำทฤษฎีฯ มาสู่การปฏิบัติอย่างไร ผมขออนุญาตเสนอ หัวเรื่องว่า “รัฐ กับการนำเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติ”

    รัฐ กับการนำเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติ

    สิ่งที่จะนำเสนออันดับแรกคือ การคลัง เพราะการคลัง คือกระเป๋าสตางค์ของประเทศ ดังนั้น หากเราจะรู้ว่าพอเพียงหรือไม่ ก็ต้องมาดูที่กระเป๋า ว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ และควรใช้จ่ายเท่าไหร่

    การคลัง ในความจริงแล้ว กระแสเงินเข้าหลักของรัฐบาลคือ เงินภาษี และรัฐบาลก็นำเงินภาษีเหล่านั้นมาใช้ในการพัฒนาประเทศ ดังนั้น ที่ควรจะเป็นก็คือ ถ้าสามารถเก็บภาษีได้มาก รัฐก็พัฒนามาก หากมีเงินน้อยรัฐก็พัฒนาน้อย ต่อมา เมื่อมีความคิดที่จะขยายตัวของเศรษฐกิจ อยากให้เศรษฐกิจโตมากๆ ก็หาวิธี นำเงินเพิ่มเข้ามาในคลัง ก็คือ การกู้เงิน (หรือการก่อหนี้สาธารณะ) ดังนั้น ปัจจุบันกระแสเงินสดหลัก ที่เข้าคลัง จึงมี 2 ทางคือ ภาษี และ เงินกู้ (และเพิ่มพิเศษในรัฐบาลไทยรักไทย คือ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ)

    ดังนั้น หากจะนำหลัก “พึ่งพาตนเอง” มาใช้ นั่นก็คือ เราต้องลดการก่อหนี้สาธารณะลง และทำให้ค่าใช้จ่ายภาครัฐเหมาะสม กับ ภาษีที่เรียกเก็บได้ พอถึงตรงนี้ ประเทศก็อาจพัฒนาช้า เราก็ต้องยอมรับ แต่หากเรามีโครงการที่ต้องทำจริงๆ ก็อาศัยหลัก “พึ่งพากันเอง” เช่น หากเราจะทำถนน ทำทางด่วน รถไฟฟ้า เราจะต้องเก็บภาษีรถยนต์ หรือ ภาษีถนน แล้วนำเงินที่เก็บได้มาพัฒนาชุมชนกันเอง รถที่จดทะเบียนกรุงเทพ ก็จ่ายภาษีให้กรุงเทพ เชียงใหม่ ก็เก็บไว้ที่เชียงใหม่ เมื่อเชียงใหม่จะทำถนน หรือกรุงเทพจะสร้างรถไฟฟ้าก็นำเงินก้อนนี้มาใช้ ส่วนค่าจัดการและดูแลรักษา ก็เก็บจากผู้ที่ใช้บริการ ถ้าช้าไม่ทันใจ ก็ให้กรุงเทพกู้เงิน โดยรัฐบาลค้ำประกัน แต่การกู้นี้จะเป็นการกู้ระยะสั้น และเราจะมีรายได้ที่แน่นอนในการชำระคืน อันนี้ผมก็ถือว่าไม่ใช่ความฟุ้งเฟ้อ

    แต่ให้เขียน หรือพูดคงเป็นเรื่องง่าย แต่จะเอาไปปฏิบัติจริงนั้นต้องใช้ระยะเวลามาก เพราะหลักการที่ผมกล่าวมาข้างต้น เป็นเรื่องที่มีมานานแล้ว (น่าจะเริ่มตั้งแต่เราเริ่มพูดถึงคำว่า NICs : Newly Industrialized Countries)

    ดังนั้นหน้าที่ของ ภาคการคลัง คือ ซ่อม และ สร้าง กล่าวคือ ต้องไปดูว่า โครงการที่ก่อหนี้สาธารณะใดที่ไม่สำคัญก็ให้ยกเลิก ที่สำคัญก็ทำต่อไป หรือ หาแหล่งเงินกู้ที่ดอกเบี้ยต่ำกว่า ขณะที่โครงการที่ยังไม่จบ หรือ มีภาระผูกพันอยู่ก็ต้องดูว่า จะลดขนาดลงได้ไหม หากลดแล้วมีผลกระทบอย่างไร

    ขณะที่ สิ่งที่ภาคการคลังต้องสร้าง ขึ้นมาคือ การสร้าง“วินัยทางการคลัง” ไม่ใช้จ่าย โดยไม่จำเป็น ไม่ก่อหนี้เพิ่ม และพัฒนาศักยภาพของรัฐวิสาหกิจให้สามารถแข่งขันในตลาดได้

    เมื่อถึงวันนั้นเราก็ไม่ต้อง คอยดูสีหน้าสีหน้าต่างประเทศ คอยระวังทุกครั้งที่ Moody หรือ S and P จัดลำดับความน่าเชื่อถืออีก เมื่อแผ่นดินไทยสามารถยืนหยัดด้วยตนเอง ด้วยพลังของเราเอง”พลังของแผ่นดิน”

  6. ความจริงอย่างหนึ่งที่เราปฏิเสธไม่ได้คือ โลกแคบลง ๆ ทุกที ด้วยอัตราเวลาเลขยกกำลัง
    จากอดีตที่การไปมาหาสู่กันยากลำบาก มาเป็นค่อยๆสะดวกขึ้น ๆ จากเดินมาเป็นเกวียน
    จากเกวียนมาเป็นรถยนต์ใช้เครื่องยนต์ และเครื่องบินในที่สุด การคมนาคมที่สะดวกขึ้นเป็นแรง
    ผลักดันให้สังคมพัฒนาเป็นลำดับตามบทความข้างต้น และในที่สุดการปฎิวัติเทคโนโลยี
    คอมพิวเตอร์, การสื่อสาร, อินเตอร์เน็ทและ world wide web ทำให้สังคมมาถึงยุคปัจเจก
    เร็วอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน คนที่สามารถปรับตัวและประยุกต์เข้ากับระบบสังคมแบบที่กำลัง
    จะเป็นไปจึงจะสามารถอยู่รอดได้อย่างที่บทความว่าไว้ทีเดียวครับ

  7. เรื่องภาษีถนนของคุณ inkberry อ่านแล้วยังไม่ค่อยชัดเจนเท่าไหร่นัก จะเก็บด้วยอัตราอะไร เก็บอย่างไร ช่วยอธิบายเพิ่มเติมได้ไหมครับ
    ประเทศของเรา ยังมีคนอยู่ในภาคเกษตรกรรมอยู่จำนวนมาก ดังนั้นผมคิดว่า เราควรมาพัฒนาภาคเกษตรกรรมให้มากกว่านี้
    และควรจะทำให้เป็น SME ในแบบเกษตรกรรม คือ หันมาร่วมกลุ่มกันในรูปแบบสหกรณ์ หรือชุมชน ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม กระทัดรัด โดยไม่ต้องพึ่งพาภาคอุตสาหกรรม ซึ่งแต่ก่อนเราจะได้ยินแต่เรื่องภาคอุตสาหกรรมดูดซับแรงงานส่วนเกินในภาคเกษตรกรรม ได้แรงงาน อาหาร วัตถุดิบในราคาถูก ๆ จนสุดท้าย ทุกคนก็ทิ้งที่ดิน ไปเป็นคนงานในโรงงานกันหมด
    นอกจากนี้ อุตสาหกรรมยิ่งใหญ่โต ยิ่งสร้างมลภาวะมาก
    ส่วนรัฐบาลก็ควรให้ความสนับสนุนทางด้านการขนส่ง และการชลประทาน
    ด้านการขนส่ง ควรพัฒนาระบบรถไฟ เช่น สร้างรางรถไฟรางคู่ทั่วประเทศ เพื่อให้ขนส่งสินค้า หรือเดินทางทั่วประเทศได้สะดวกยิ่งขึ้น ดีกว่ามาสร้างรถไฟใต้ดินเพื่อคนกรุงเทพฯ เพียงจังหวัดเดียว
    การชลประทาน ให้แต่ละอำเภอ แต่ละตำบล สร้างอ่างเก็บน้ำประจำอำเภอ หรือตำบล ถ้าทำถึงระดับหมู่บ้านได้ยิ่งดี
    จะได้ไม่ต้องมาสร้างเขื่อนใหญ่โต ต้องมาทำลายป่า เวรคืนที่ดิน ใช้งบประมาณสูง มีปัญหาประท้วงกันอีก จะผลิตกระแสไฟฟ้า ใช้พลังลม หรือพลังแสงอาทิตย์ก็น่าจะได้
    สอนให้ชาวบ้านรู้จัก พึ่งพาตนเองบ้าง ไม่ใช้รอให้รัฐบาลทำโครงการใหญ่ ๆ มาช่วยเหลือ แล้วรัฐบาลก็โกงกินกันอีกจนได้
    ผมว่าเศรษฐกิจพอเพียง คือ ต้องเริ่มจากพึ่งพาตนเองก่อน
    เมื่อตนเองแข็งแกร่ง ก็ช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป

    ปล. สำหรับคนเมืองที่ชอบซื้อ ชอบต่อสินค้าเกษตรในราคาถูกมาก ๆ เห็นใจเกษตรกรบ้างเถอะครับ อุดหนุนสินค้าของเราเอง ถึงแม้ว่าจะแพงบ้าง แต่ผมว่าช่วย ๆ กันไป บางเรื่องก็ไม่ควรมาคิดถึงเรื่อง “การประหยัดด้วยการเปรียบเทียบ” ตามแบบเศรษฐศาสตร์มากเกินไปครับ

  8. เรียน คุณ SARAYo

    สำหรับเรื่องภาษีถนน ผมคงไม่สามารถไประบุว่าจะเก็บในอัตราไหน แต่ที่สำคัญควรเก็บตามราคารถยนตร์ ไม่ใช่เครื่องยนตร์ ซื้อรถแพงก็เก็บสูงหน่อย และ ไม่ควรเริ่มเก็บทันที ควรให้เวลา อาทิ จะเก็บในอีก 2 ปี แต่เราก็พอจะคำนวณยอดรายรับก้อนนี้จากอนาคต กรุงเทพก็สามารถลงทุนล่วงหน้าได้

    ผมว่า SME ในภาคเกษตรกรรม เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ปัจจัยแรกคือ การให้ความรู้

  9. เรียน คุณธันยวัชร์ และคุณอาทิตย์
    หากท่านพอมีเวลา รบกวนช่วยกรุณาวิเคราะห์ หรือcommentโฆษณาชุดล่าสุดของDTACในcampaignเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ที่หยิบยกเอาประเทศภูฐาน หรือภูฏานมานำเสนอ เพื่อสะท้อนอะไรบางอย่าง? หรือไร? ขอบพระคุณ และขอให้ท่านทั้งสอง มีความสุขในการทำงาน..(พักหลังนี่ แลลูกเล่นเยอะนะ แสดงว่ามีความสุข เราดีใจด้วย!) ps.ฟังคุณ”เรวัติ”แต่ก่อนง่วงมาก หลับเลย เดี๋ยวนี่ คุณ”รับ-ส่ง”กันได้น่ารักดี การพลิกกลับแบบนี้เรียกoceanสีอะไร? ขอชื่นชมรายการBC.ที่นำสาระ-ประโยชน์แก่ผู้ฟังด้วยความสบายๆไม่หนัก-ไม่เครียดซึ่งสังคมผู้บริโภคในยามนี้ ต้องการ!! โปรดรักษาไว้ ด้วยความนับถือยิ่ง.

  10. พี่ครับ..ตัวหนังสือพี่นี่ช่วยให้มันโตกว่านี้นิดส์.. ได้ไหมครับ ไม่งั้นผมต้องปรับ ขนาดเป็น Largest ทุกครั้งเลย
    พอเปลี่ยนหน้าต่างไปเวปอื่นก็ต้องแก้เป็น med.น่ะฮะพี่ แต่เนื้อหาพี่มาตราฐาน A+ อยู่แล้วครับ ก่อนนอนผมฟัง Rerun จาก web 96.5 ตลอดครับ มีประโยชน์มากครับ

  11. ผมว่าทั้งความเห็นของคุณ Sarayo กับ Inkberry ก็ดีทั้งคู่ครับ

    ภาคเกษตร แน่นอนครับ ถ้าเราสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตของไทยเราก่อนส่งออก ก็จะดีกว่านี้ครับ เช่นแปรรูปเป็นขนมไทย หรือแม้กระทั่งการปรับปรุง packaging ถ้าส่งออกแบบดั้งเดิมอาจจะโดนกดราคา เพราะมันเป็น commodity ครับ จึงควรดัดแปลงบ้าง เพื่อสร้างความต่าง นอกจากนั้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวกับอะไรที่เกี่ยวกับบริการก็ดีครับ เป็นจุดแข็งของเราอยู่แล้ว เพียงแต่เราไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่ม และมีการจัดการที่ดีครับ อย่าง เนี่ยจริงๆ ไม่มีอะไรเลย ยังพยายามสร้าง story ไม่ว่าจะเป็น Sentosa , Jurong Bird Park หรือ Esplanade เค้าพยายามทำจริงๆ ของไทยเรามีอยู่แล้ว แต่กลับไม่ใช้ประโยชน์เท่าที่ควร

    สำหรับการเก็บภาษีรถยนต ผมเห็นด้วยครับ เพราะที่ Hongkong หรือ Singapore เค้าก็ทำกัน และก็ดีด้วย เพราะรถจะไม่ติด และไม่ฟุ้งเฟ้อเกินไป ให้คนที่เหลือเก็บจริงๆ เท่านั้น ที่สามารถซื้อรถได้ แต่ทั้งนี้ครับเราต้องมี Mass transport ที่ดีก่อนนะครับ ปรับปรุงระบบขนส่ง รถเมล์ Subway / Skytrain ซะก่อน ถ้ามันเดินทางได้สะดวกนะครับ ผมว่าคนก็ไม่อยากซื้อรถให้เปลืองเงินหรอกครับ เอาเงินไปเที่ยวหรือทำอย่างอื่นดีก่า

  12. ไม่ว่าท่านใดทราบบ้างว่าง
    หนังสือเล่ม นี้ Competitive Advantage : Creating and Sustaining and Superior Performance ของคุณ Michael E. Porter
    มีฉบับแปลเป็นไทยบ้างไหมครับ

    และ ถ้าจะเริ่มศึกษาผลงานของคุณ Peter Drucker
    ควรเริ่มจากหนังสือเล่มไหนบ้างครับที่เป็นเรื่องที่คุณ Peter Drucker แต่งเองครับ

  13. อยากขอคำแนะนำจากทุกท่านช่วยกันวิเคราะห์ตลาด content บนมือถือให้หน่อยค่ะ
    ว่าจะรุ่งหรือร่วงค่ะ แล้วควรมีกลยุทธ์เช่นใดเมื่อถูกค่ายมือถือบีบให้ออกจากระบบทีละนิด
    ขอบคุณมากค่ะ

  14. ตอบคุณ barkingband นะครับ

    รู้สึกว่า Competitive Advantage จะไม่มีแปลนะครับ แต่ Competitive Strategy จะมีแปลเป็นภาษาไทย ถ้าจำไม่ผิดจะเป็นอ.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์นี่ล่ะที่เป็นคนแปล และชื่อว่ายุทธ์วิธีการแข่งขัน

    ต้องรบกวนให้พี่ธันยวัชร์มาวิสัจฉนาคำตอบที่แม่นยำ ผมขอตอบแก้ขัดไปก่อน

    ส่วน Peter Drucker นั้น จากประสบการณ์ของผม (บวกกับการชี้แนะของคุณพี่ธันฯ) ต้องเป็น …

    The Essential Drucker – รวมบทความคลาสสิกของดรักเกอร์ … เล่มนี้เปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางด้านธุรกิจและการจัดการของผมไปอย่างสิ้นเชิง อ่านแล้วจะรู้ซึ้งถึงความเป็นปราชญ์ของปู่ ทั้งกว้าง ลึก และชัดแจ้งอย่างเหลือเชื่อ

    อีกเล่มคือ The Daily Drucker … เล่มนี้จะย่อยง่ายขึ้นอีกนิด เพราะแบ่งเนื้อหาออกเป็นตอนสั้น ๆ ให้อ่านวันละตอน แล้วเอาไปปฏิบัติ เป็นลูกศิษย์แกรวบรวมและเรียบเรียงแบ่งตอนให้ ผมคิดว่าใจความหลักของเนื้อหาไม่น่าผิดเพี้ยนอะไรไปจากต้นฉบับ และข้อดีอีกอย่างคือจะบอกว่าเนื้อหาแต่ละตอนมาจากผลงานเล่มไหนบ้าง จะได้ตามไปค้นคว้าต่อได้ ทั้งยังมีสรุปผลงานของปู่ทั้งหมดอีก … สุดคุ้มครับ

  15. ขอบคุณๆอาทิตย์มากครับ

  16. คุณธันยวัชร์/คุณอาทิตย์ มีเรื่อง itv มาคุยบ้างมั๊ยครับ อยากฟัง


Leave a reply to suwat kaewboonsri Cancel reply