Youth + Creativity
ข้อคิดจากบอลโลก

แม้ทีมชาติสเปนจะสร้างปรากฏการณ์ครั้งแรกที่ทีมจากทวีปยุโรปสามารถคว้าแชมป์นอกทวีปได้เป็นครั้งแรก

และเป็นทีมที่แพ้ในรอบแรกทีมเดียวที่คว้าแชมป์โลกได้

แต่ทว่าทีมที่ชิงซีนไปในทัวนาเม้นต์นี้ในความเห็นของผมก็คือเยอรมันและหมึกของเยอรมัน

สเปนนั้นเป็นเต็งหนึ่งตั้งแต่เริ่มต้น การได้แชมป์โลกนั้นก็สมควรแล้ว(ทั้งที่ยิงประตูได้น้อยเหลือเกิน) แต่เยอรมันชุดนี้ไม่ได้มีใครตั้งความหวังอะไรมากนัก อย่าว่าแต่แฟนบอลเยอรมันเลย กระทั่งชาวเยอรมันเองก็ไม่ได้คาดหวังอะไรมากนัก

ดังนั้นเมื่อผลการแข่งขันในรอบ 16 ทีมสุดท้ายที่บดอังกฤษ คู่แค้นตลอดกาลไปได้ 4-1 ทั้งๆที่ทีมสิงโตคำรามเต็มไปด้วยซุปเปอร์สตาร์อย่างเวย์น รูนี่ แลมพาร์ต เจอร์ราด เทอร์รี่ โคล

โลกต้องหันกลับมามองเยอรมันอีกครั้ง แต่ก็คิดว่าอังกฤษกับเยอรมันคู่นี้ใครชนะก็ต้องไปถูกอาร์เจนตินาเชือดอยู่ดี

เมื่อเยอรมันช็อกโลกอีกครั้งด้วยการบดอาร์เจนตินา ถึง 4-0

โลกต้องกลับมามองเยอรมันอีกครั้ง พร้อมๆกับมองหมึกพอล ผู้ทำนายผลบอลครั้งใดแทบไม่เคยพลาด(นัดเดียวที่ทายผิดก็คือนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลยูโรเมื่อสองปีที่แล้ว)

ชัยชนะของเยอรมันซึ่งไม่ได้มีสตาร์ดังคับทีมอย่างอังกฤษและอาร์เจนตินา ทั้งๆที่นักเตะวัยละอ่อนเต็มทีม แทบไม่มีซุปเปอร์สตาร์แม้แต่คนเดียว(แต่ระดับสตาร์มีนะ)

สะท้อนให้เห็นว่าโลกธุรกิจยุคนี้จะให้ความสำคัญกับ Youth มากกว่าประสบการณ์

กานาซึ่งเกือบจะเข้ารอบสี่ทีมสุดท้ายก็มีนักเตะอายุน้อยเต็มทีม เพราะสร้างทีมจากชุดเยาวชนโลก

ไม่ต้องพูดถึงสเปนที่ให้ความสำคัญกับการสร้างนักเตะรุ่นใหม่ๆเพื่อทดแทนรุ่นเก่าอยู่ตลอดเวลา

ในโลกธุรกิจ ผู้ประกอบการที่เปลี่ยนโลกล้วนเป็นคนหนุ่มวัยละอ่อนแทบทั้งสิ้น

Larry Page and Sergey Brin แห่ง google

Mark Zuckerberg แห่ง FaceBook

Michael Dell แห่ง Dell

Steve Jobs แห่ง Apple

Bill Gates แห่งไมโครซอฟท์

ล้วนเริ่มต้นธุริจในวัยยี่สิบต้นๆเท่านั้น แน่นอนว่าพวกเขาเหล่านี้ไม่ได้คิดจะเป็นเพียงผู้ประกอบการสามัญเพื่อสร้างความมั่งคั่งเท่านั้น
แต่พวกเขาเหล่านี้ต้องการเปลี่ยนโลก

หลังจากสตีฟ จ๊อบส์ สร้าง Apple Computer จยลงหลักปักฐานพร้อมที่จะบินแล้ว เขาได้ไปชวน John Sculley ซึ่งในเวลากำลังจ่อคิวจะขึ้นเป็น CEO Pepsi และเอ่ยปากชวนด้วยประโยคสะท้านโลกว่า “ Do you want to sell sugar water for the rest of your life or do you want to come with me and change the world?”

ประโยคนั้นแทงใจดำ Sculley แต่ก็ทำให้เขาคิดหนัก สุดท้ายเขาก็มาร่วมเปลี่ยนโลกกับสตีฟ จ๊อบส์จนได้

ซึ่ง Sculley นี่แหละที่ถีบจ๊อบส์ออกไปจากบริษัทที่เขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง ตอนแรกจ๊อบส์แค้นมาก ต่อเขาก็ได้ตระหนักในสัจธรรมแห่งชีวิต และพบว่าเมื่อ Connect the dot แล้ว เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้เขาแข็งแกร่งขึ้น

และเมื่อกลับมา Apple อีกครั้ง งานของจ๊อบส์ก็ยังเหมือนเดิม นั่นคือ “เปลี่ยนโลก” ด้วย iPod iPhone และ iPad
เช่นเดียวกับสองผู้ก่อตั้ง Google เช่นกัน พวกเขาทั้งสองกำลังเปลี่ยนโลกด้วย Search Engine และสารพัดบริการฟรีที่ออกมาทุบหม้อข้าวคู่แข่งขัน แต่ผู้บริโภคได้ประโยชน์

ขณะที่ Mark Zuckerberg ไม่ต้องพูดถึงเลยว่าพ่อหนุ่มคนนี้กำลังทำให้ Facebook ได้กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ไปเสียแล้ว

โลกกำลังแบ่งออกเป็นสองยุค คือยุคก่อนมี facebook และยุคหลังมี facebook

สำหรับบางคน Facebook เป็นยิ่งกว่าSocial Network

มันคือ Way of Life

สมการความสำเร็จของยุคนี้ก็คือ Youth + Creativity + Think BIG = Change The World

Published in: on August 12, 2010 at 7:10 pm  Comments (3)  

จะหยิบ GM Biz ฟรีได้ที่ไหน

สตาร์บักส์
true coffee
true life cafe
Au Bon Pan
cafe De tu
coffee world
greyhiubd Cafe
Iberry
Ka nom
Mc Donald
Mc Cafe
ร้านกาแฟ วาวี
พรเกษม คลินิค
รร.ปทุมวัน Princess
Devarana Spa
รร.ดุสิตธานี
โอเอซิส สปา
ลิโด้
รัชดาเธียเตอร์
ดิ เอสพลานาด
รร.อิมพีเรียล
รร.แลนด์มาร์ก
โรบินสัน รัชดา
ธ.กสิกรไทย
ธนาคารไทยพาณิชย์
ธนาคารทหารไทย
ห้องสมุดมารวย
เซ็นทรัลพลาซ๋า
ฯลฯ

Published in: on January 28, 2010 at 12:43 am  Comments (22)  

Innovation is not enough

ในบรรดาหัวใจทางความคิดของเหล่าปรมาจารย์ทางการจัดการและกลยุทธ์ที่นำเสนอในหนังสือ “คิดใหม่เพื่ออนาคต”(Rethinking The Future) นั้น การสร้างนวัตกรรมถือว่ามีความสำคัญอยู่ในอันดับหนึ่ง

ไมเคิล อี.พอร์เตอร์ กูรูกลยุทธ์ที่โดดเด่นที่สุดของโลกในรอบสามสิบปีกล่าวว่าหนึ่งในความได้เปรียบที่สำคัญที่สุดของศตวรรษที่ 21 คือความได้เปรียบทางนวัตกรรม(Innovation Advantage)

นวัตกรรมโยงใยกับทิศทางด้านกลยุทธ์อย่างต่อเนื่อง นวัตกรรมที่กำลังดำเนินอยู่จำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์เชิงยุทธ์ด้วย

แกรี่ ฮาเมล กูรูกลยุทธ์รุ่นใหม่ที่มาแรงที่สุดกล่าวว่าการ invent อนาคตใหม่ด้วยจินตนาการนั้นไม่ใช่เรื่องส่วนตัวของผู้นำองค์กร แต่ทว่าเป็นความคิดสร้างสรรค์ของคนที่ล้อมรอบซึ่งผู้นำมีปฏิสัมพันธ์ด้วย

ปีเตอร์ เอฟ.ดรักเกอร์ อภิมหาปรมาจารย์เจ้าของฉายา “บิดาแห่งการจัดการ” เขียนบทความ Innovation or Die อีกครั้งหลังจากเขียน Innovation and Entrepreneurship เมื่อหลายทศวรรษก่อน

ดูเหมือนว่าโลกธุรกิจจะถูกขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

ก่อนที่ “จิวยี่” จะรากเลือดตายในเรื่องสามก๊กนั้น เขาได้กล่าวอมตะวาจาประโยคหนึ่งว่า “ฟ้าให้จิวยี่มาเกิด ไฉนให้ขงเบ้งมาเกิดด้วยเล่า”

หากจะปรับให้เข้ากับท้องเรื่องของบทความชิ้นนี้ก็คือ “ฟ้าให้กำเนิดนวัตกรรม ไฉนอุ้มบุญ CopyCat ออกมาด้วยเล่า”

ดูเหมือนวัตกรรมคือจุดสูงสุดของธุรกิจ บริษัททั้งหลายทั้งปวงจึงมุ่งเน้นในการวิจัยและพัฒนาเพื่อนำไปสู่นวัตกรรม เลสเตอร์ ทูโรว์ เขียนใน “คิดใหม่เพื่ออนาคต” ว่าเกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีอัตรา GDP เฉลี่ยต่อหัว 30-40%ของเนเธอร์แลนด์เท่านั้น แต่ทว่าเกาหลีใต้ลงทุนด้าน R&D ในอัตราส่วนที่มากกว่าเนเธอร์แลนด์ ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมเกาหลีใต้จึงเป็นประเทศที่อุมด้วยนวัตกรรมและก้าวไปสู่แถวหน้าของเอเชียในปัจจุบัน

แต่นวัตกรรมไม่ได้ดำรงอยู่ได้นาน เปรียบเสมือน “กระดานหมากล้อม” เมื่อมีหมากขาวก็ย่อมต้องมีหมากดำ มีนวัตกรรมก็ต้องมีผู้ลอกเลียนแบบหรือ Copy Cat

BusinessWeek เรียกเศรษฐกิจที่มีการลอกเลียนแบบเป็นสรณะว่า Copy Cat Economy

เทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้การก๊อปปี้ง่ายเพียงชั่วข้ามคืน

Entry Barrier ในการก้าวเข้าสู่ชมรม Copy Cat แทบจะกลายเป็นศูนย์

คำถามที่น่าสนใจก็คือแล้วจะสร้างนวัตกรรมกันไปทำไม เพราะนวัตกรรมในด้านหนึ่งก็คือความสุ่มเสี่ยงต่อความล้มเหลวและต้นทุนมหาศาลที่ลงไปก็เรียกกลับคืนมาไม่ได้

สู้ปล่อยให้องค์กรที่คลั่งไคล้ไหลหลงนวัตกรรมทุ่มเทงบประมาณกับ R&D และทดลองตลาดไปให้เห็นว่าประสบความสำเร็จอย่างแน่นอนแล้วค่อยกระโดดไปก็ไม่สาย

ในแง่นี้ Copy Cat ย่อมเป็นคำตอบสุดท้าย

เมื่อ SONY ประกาศส่งนวัตกรรมจอแบนลงสู่ตลาดเมื่อสองปีก่อนนั้นเป็นที่ฮือฮามากเพราะ SONY ใช้ทั้งราคาและนวัตกรรมไล่ขยี้คู่แข่งจมเขี้ยว แต่ทว่าหลังจากนั้นไม่กี่เดือน ทีวีทุกแบรนด์กลายเป็นจอแบนไปทั้งหมด

SONY จึงต้อง Innovate อีกครั้งด้วยการออกจอแบนแบบใหม่ที่เฉียบคมด้วยดีไซน์และคมชัดมากกว่าแบรนด์อื่นๆ

แต่ SONY จะนำหน้าไปได้สักกี่เดือน

เช่นเดียวกับฟอร์ดปิ๊กอัพรุ่นตู้กับข้าวที่เปิดได้สี่ประตูที่นำหน้าเหนือกว่าปิ๊กอัพแบรนด์อื่นที่ยังตามไม่ทัน

แต่ฟอร์ดจะนำหน้าในฐานะ Innovator อยู่ได้กี่เดือน

ซึ่งก็หมายความว่า Innovation is not enough

เพราะทุกบริษัทต่าง Innovate กันหมด

Copy Cat ก็ลุยลอกกันชั่วข้ามคืน

อย่างนั้นอะไรคือคำตอบสุดท้าย

อัล รีย์ กล่าวไว้ในคิดใหม่เพื่ออนาคต ว่าต้องสร้างแบรนด์ผูกขาดไร้คู่แข่งขัน

เฉกเช่นที่ไมโครซอฟท์ทำได้กับ Window

เพียงแต่ว่าการผูกขาดยุคนี้ทำได้ไม่ง่าย

แต่ไม่ได้หมายความว่าทำไม่ได้เลย!!!

Published in: on November 30, 2009 at 5:07 pm  Comments (12)  

จิวยี่ ผู้เกรียงไกรในแดนกังตั๋ง

เรื่องราวของขุนศึกหนุ่มหน้าตาดีมีชาติตระกูลคนนี้ แฟนสามก๊กหลายคนตั้งข้อสังเกตว่าน่าจะถูกต่อเสริมเติมแต่งให้มีสีสันมากขึ้นจากความเป็นจริงในประวัติศาสตร์

เป็นสีสันที่ไปส่งเสริมให้ภาพลักษณ์ของขงเบ้งโดดเด่นขึ้นตามความต้องการของหลอกว้านจงผู้แต่งสามก๊กเล่มที่คนนิยมอ่านมากที่สุด

เพราะจิวยี่ในนวนิยายอิงพงศาวดารของหลอกว้านจงนั้น เป็นคู่ปรับตัวเอ้ของขงเบ้ง และแข่งบารมีทีไร จิวยี่เป็นรองทุกที กระทั่งตอนใกล้วายปราณ ยังตายด้วยความแค้นที่เสียรู้ขงเบ้งจนถึงกับแหงนหน้าดูฟ้าแล้วเอื้อนเอ่ยวาจาตัดพ้อชะตาชีวิตว่า

“เทพยดาองค์ใดหนอซึ่งให้เราเกิดมาแล้ว เหตุใดจึงให้ขงเบ้งเกิดมาด้วยเล่า” ก่อนกระอักเลือดตายด้วยความแค้น

แต่ว่าฉากนี้ไม่มีปรากฏในบันทึกทางประวัติศาสตร์หรอกนะ

จิวยี่ในบันทึกประวัติศาสตร์ตายเพราะอาการบาดเจ็บจากการต่อสู้กำเริบ

และชื่อเสียงความเก่งกาจปราดเปรื่องของจิวยี่นั้นก็เป็นที่กล่าวขวัญ ทั้งตัวเขาก็มีบทบาทสำคัญยิ่งในฐานะของขุนพลหนุ่มแห่งง่อก๊ก

จิวยี่มีชื่อรองว่ากงจิน เป็นคนอำเภอซู มลฑลอันฮุย

เขาเกิดปีพ.ศ. 718 ปีเดียวกันกับซุนเซ็กซึ่งเป็นเพื่อนรักที่ชอบพอกันมาตั้งแต่วัยเยาว์ ในสามก๊กบอกลักษณะของจิวยี่ว่ามีรูปร่างงามสง่า มีจิตใจกว้างขวาง มีความรู้ความสามารถในทางทหาร ในขณะที่ก็เชี่ยวชาญด้านดนตรี และรักเดียวใจเดียว

จิวยี่สนิทกับซุนเซ็กมาตั้งแต่เด็ก เพราะบ้านอยู่ใกล้กัน ฐานะของครอบครัวดีทำให้คุณชายน้อยของตระกูลเช่นจิวยี่สามารถเชิญอาจารย์มาสอนสรรพวิชาต่างๆ ให้ที่บ้าน ไม่ต้องดั้นด้นไปเรียนที่ไหนไกล

ตรงนี้มีเกร็ดสามก๊กเล่าเป็นนิทานชาวบ้านว่า ซุนเซ็ก ซึ่งก็เป็นคุณชายน้อยคนฉลาดเช่นกันนั้นพยายามเฟ้นหาอาจารย์ดีๆ เก่งๆ มาสอน เปลี่ยนครูคนแล้วคนเล่าก็ไม่ได้ครูที่เก่งถูกใจเสียที

เห็นจิวยี่เรียนกับอาจารย์คนเดียวไม่เคยเปลี่ยน ซุนเซ็กก็เกิดคิดจะไปเรียนด้วยเพราะอยากรู้นักว่าครูของจิวยี่นั้นเก่งขนาดไหน

แต่อาจารย์ของจิวยี่ดูออกว่าซุนเซ็กมีความยโสจะมาลองดี จึงบอกปัดว่าไม่รับศิษย์ 2 คน ซุนเซ็กจึงขอเป็นเด็กรับใช้คอยติดตามอาจารย์แทน

วันหนึ่งอาจารย์ ลูกศิษย์คือจิวยี่และเด็กรับใช้คือซุนเซ็กไปเดินเล่น ผ่านต้นไม้ต้นหนึ่งมีผลสุกน่ากิน อาจารย์จึงสั่งให้เด็กรับใช้ไปเก็บมา โดยมีข้อแม้ว่า “ห้ามปีนต้นไม้ขึ้นไปเก็บ เดี๋ยวเสื้อจะเปื้อน และห้ามใช้ไม้สอย เพราะลูกไม้ตกลงมาก็ช้ำหมดพอดี”

ซุนเซ็กคิดแล้วคิดอีกถึงวิธีเก็บลูกไม้นั้นให้ได้ตามเงื่อนไข คิดเท่าไรคิดไม่ออก จิวยี่จึงขออาสาเป็นผู้เก็บลูกไม้นั้นให้อาจารย์เอง

ว่าแล้วจิวยี่ก็แก้สายรัดเอวออกเหวี่ยงขึ้นไปพันกิ่งไม้ แล้วก็โน้มกิ่งลงมาจนเก็บลูกไม้ได้สบายๆ

ซุนเซ็กถึงกับทึ่งในสติปัญญาของเพื่อนและยอมรับในตัวอาจารย์

กาลต่อมา ทั้งสองคนคือซุนเซ็กกับจิวยี่ก็ร่วมปณิธานช่วยกันสานสร้างกังตั๋งจนเป็นที่เลื่องลือ และต่างก็ได้รับฉายาเป็นทำนองเชิดชูทั้งคู่โดยซุนเซ็กได้รับฉายาว่า “พยัคฆ์น้อยผู้ยิ่งใหญ่”

ส่วนจิวยี่ได้รับฉายาว่า “สิงห์สำอางแห่งกองทัพเรือ”

ในเรื่องสามก๊ก จิวยี่เป็นกำลังสำคัญของก๊กง่อ ทั้งเก่ง ทั้งงามสง่า มีบุคลิกเป็นที่น่าชื่นชม และเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการบัญชาการรบเพื่อสร้างความรุ่งเรืองและทำหน้าที่องครักษ์พิทักษ์ง่อก๊กจนเรียกได้ว่าทุ่มเททั้งชีวิตให้เลยทีเดียว จึงไม่แปลกเลยที่ชาวกังตั๋งจะมองว่าเขาเป็นวีรบุรุษ

อย่างไรก็ดี แม้จิวยี่จะเป็นแม่ทัพผู้กรำศึก ต้องจับอาวุธฆ่าฟันศัตรูมากมาย แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งของชีวิต จิวยี่รักและมีความสามารถในดนตรียิ่งนัก

เชี่ยวชาญถึงขนาดที่ว่า แม้กำลังเมามาย เมื่อได้ยินนักดนตรีบรรเลงเพลงผิดเพียงนิด ก็สามารถทักท้วงได้ทันที

ทั้งยังมีความเป็นศิลปิน จับท่วงทำนองของสายน้ำฉางเจียงมาแต่งเป็นเพลงฉางเหอ (ครวญสายธาร)จนเป็นที่เลื่องลืออีกด้วย

เรียกว่าเป็นวีรบุรุษที่เก่งรอบด้านจริงๆ

แล้วคุณล่ะ ต้องการเป็นแม่ทัพที่เก่งกาจเช่นจิวยี่หรือไม่?

ปล.บทความนี้แฟนรายการของผมที่ชื่อ pemaster เขียนไว้เมื่อ On May 21, 2007 at 9:53 pm ผมเห็นว่าดี จึงนำมา Post ต่อครับ

Published in: on November 20, 2009 at 2:14 am  Comments (10)  

วิถีเล่าปี่3

3. ผู้นำต้องเปี่ยมน้ำใจ

เคยถามคุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ซีอีโอเซเว่นฯว่าทำไมถึงได้ชื่นชอบเล่าปี่มากที่สุดในสามก๊ก ทั้งๆที่คนส่วนใหญ่ไม่ได้ให้น้ำหนักกับเล่าปี่แต่อย่างใด

จำได้ว่าคุณก่อศักดิ์ตอบว่าเพราะเล่าปี่เป็นคนยึดถือน้ำใจกับพี่น้องร่วมสาบาน

ผู้อ่านคงจำได้ว่าเล่าปี่ใช้ให้กวนอูเฝ้ารักษาเมืองเกงจิ๋ว ซึ่งเป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่สำคัญมาก ในการรุกขึ้นสู่ภาคเหนือเพื่อทำสงครามขั้นแตกหักกับโจโฉ

อย่างไรก็ตาม ซุนกวนซึ่งครองแดนกังตั๋งอยู่นั้นเห็นว่าเกงจิ๋วภายใต้การยึดครองของซุนกวนนั้นถือว่าเป็นภัยอย่างใหญ่หลวง

สุดท้ายกวนอูพ่ายแพ้ต้องถูกตัดหัว ทำเอาเล่าปี่ซึ่งเป็นผู้ร่วมสาบานซึ่งในเวลานั้นเป็นฮ่องเต้แห่งแคว้นจ๊กก๊กแล้วพิโรธยิ่งนัก

การเสียกวนอูและเมืองเกงจิ๋วนั้นถือว่าเป็นความเสียหายในเชิงยุทธศาสตร์อย่างมาก

ขงเบ้งก็รู้ว่าเล่าปี่ต้องไม่นิ่งดูดายเห็นกวนอูตายไปโดยไม่ล้างแค้นเป็นแน่แท้ เพราะกวนอูไม่เพียงเป็นขุนพลคู่ใจ หากยังเป็นน้องร่วมสาบานอีกต่างหาก

หากยึดหลักยุทธศาสตร์สามก๊กตามที่ขงเบ้งวางไว้นั้น ก็ต้องผูกพันธมิตรกับซุนกวน

ซึ่งก็หมายความว่าเล่าปี่ต้องกล้ำกลืนฝืนตีหน้ากับซุนกวนต่อไปเพื่อผูกพันธมิตรไว้

ทว่าการนิ่งเฉยเช่นนั้น อาจทำให้เล่าปี่ถูกมองว่าเป็นคนแล้งน้ำใจ ยึดผลประโยชน์เป็นใหญ่เหนือความผูกพันน้องร่วมสาบาน ซึ่งความเชื่อมั่นในตัวเล่าปี่จะคลอนแคลนได้

อย่างไรก็ตาม ในเวลานั้นเล่าปี่เป็นฮ่องเต้ ไม่จำเป็นต้องเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายออกรบเพื่อน้องร่วมสาบาน

การล้างแค้นให้น้องร่วมสาบานอย่างกวนอูนั้นทำให้เขาได้ใจราษฎรและขุนพล

ทว่าในเชิงยุทธศาสตร์แล้วเสียหายอย่างยิ่ง

เล่าปี่เป็นคนมากน้ำใจแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว
ไม่เพียงกับน้องร่วมสาบานเท่านั้น กระทั่งกับเล่าเปียว เจ้าเมืองเกงจิ๋วซึ่งยกเมืองให้ก็ไม่ยอมครอบครอง เพราะเหตุที่ว่าไม่ต้องการได้ชื่อว่าแย่งสมบัติจากคนแซ่เดียวกัน ทั้งๆที่ตามหลักยุทธศาสตร์แล้วไซร้จำต้องยึดให้จงได้

เจตจำนงอันแน่วแน่เช่นนี้ ทำให้ขงเบ้งซึ่งเป็นกุนซือใหญ่ต้องเหนื่อยแทบรากเลือดกว่าจะแผ้วทางในการสู่บัลลังก์ฮ่องเต้ไม่สบอารมณ์ จึงไม่เดินทางไปบัญชาการรบ
เฝ้ารักษาเสฉวน

ขณะที่เล่าปี่ซึ่งไม่มีความสามารถในการรบและการวางแผนแต่อย่างใด กลับคุมทัพไปรบเพื่อล้างแค้นแทนน้องร่วมสาบาน ทั้งที่ก็รู้ว่าถ้าชนะซุนกวน คนที่ดีใจก็คือโจโฉ

เล่าปี่ก็บ่ยั่น

ซึ่งก็หมายความว่า “เล่าปี่ไม่มีสายตาของนักยุทธศาสตร์” ขณะที่จุดแข็งของขงเบ้งก็คือการมองภาพรวม ซึ่งจำเป็นมากต่อการครองแผ่นดิน

การไล่ล่าเพื่อล้างแค้นของเล่าปี่ ส่งผลกระทบต่อยุทธศาสตร์ 3 ก๊กที่ขงเบ้งวางไว้

Published in: on November 19, 2009 at 1:44 am  Comments (1)  

เรียนรู้จากสามก๊ก ตอน (1) การสร้างตัวของเล่าปี่

415px-Liu_Bei_Tang

ว่ากันว่าใครอ่าน “สามก๊ก” สามจบ คบไม่ได้

ประโยคนี้แสดงว่าสามก๊กนั้นเป็นหนังสือที่เต็มไปด้วยเล่ห์เหลี่ยม คนที่อ่านมากถึงสามครั้ง ย่อมซึมซับเพทุบายต่างๆไปโดยไม่รู้ตัว

เพราะตัวละครสำคัญในสามก๊กนั้นมากเล่ห์เพทุบาย

อ่านมากๆเข้าก็อาจจะคิดแบบโจโฉเข้าสักวัน

ยอมทรยศต่อโลก แต่ไม่ยอมให้โลกทรยศ

อันนี้ก็เป็นประโยคที่ติดปากเหมือนกัน

ผมเคยถามผู้บริหารหลายคนว่าชอบตัวละครใดในสามก๊กมากที่สุด

จำได้ว่าคุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมิศักดิ์ ตอบว่า “เล่าปี่”

นอกจากนั้นแล้ว ผมก็ยังมองนักธุรกิจระดับ tycoon ด้วยว่าเขาเป็นตัวละครใดในสามก๊ก

กล่าวสำหรับคุณก่อศักดิ์นั้น เมื่อละครที่เขาชอบมากที่สุดคือเล่าปี่ ซึ่งเป็นพระเอกในสามก๊ก ก็เป็นไปได้ว่าเขามองว่าธนินท์ เจียรวนนท์ นายใหญ่ของเขานั้นคือเล่าปี่ ส่วนตัวเขาอาจจะเปรียบเทียบได้กับอะไร ก่อศักดิ์ไม่ยอมบอก แต่ถ้าจะให้เดาอาจเป็น “ขงเบ้ง”

วันนี้จะเขียนถึงภูมิปัญญาจากสามก๊ก โดยจะหยิบตัวละครทีละตัวจากพงศาวดารจีนเรื่องนี้มาเขียนถึงเชื่อมโยงเข้ากับกลยุทธ์และการจัดการสมัยใหม่ โดยกล่าวถึงตัวละครเล่าปี่

อาจจะมีคนเขียนถึงเล่าปี่มามาก

หลายคนถึงกับ “ดูเบา” เพราะในบรรดาเจ้าก๊กทั้งสามนั้น เล่าปี่อาจดูด้อย เมื่อเปรียบเที
ยบกับโจโฉ และไม่เด่นอะไรมากเมื่อเปรียบเทียบกับซุนกวน แต่ผมกลับมองอีกมุม

ถามว่าเล่าปี่คือตัวละครที่ผมชอบมากที่สุดใช่ไหม ตอบได้ทันทีเลยว่าไม่ใช่

ตัวละครที่ผมโปรดปรานมากที่สุดคือขงเบ้ง

ส่วนตัวละครที่ผมพยายามศึกษานิสัยใจคอมากที่สุดคือ โจโฉ เพราะโจโฉเป็นตัวละครที่สามารถพบเห็นได้ในชีวิตจริงๆ เป็นตัวละครที่คุณผู้อ่านอาจจะพบเจออยู่ทุกเมื่อเชื่อวันอยู่แล้วก็เป็นได้

ทว่าอาจจะไม่ได้เห็นชัดเจนว่าเป็นโจโฉ เพราะโจโฉเป็นตัวโกง คงไม่มีใครสรรเสริญเยินยอตัวโกงเป็นแน่

จึงเป็นธรรมดาอยู่เองที่ไม่มีใครแสดงว่าตัวเองเป็นโจโฉ

แต่ถ้าให้คุณหญิงหมอพรทิพย์ตรวจดีเอ็นเอ จะพบว่าเป็นโจโฉ

กลับมาที่เล่าปี่

เล่าปี่เป็นคนที่สร้างตัวเองคนที่ไม่มีอะไรเลย

ฝรั่งจะเรียกว่า Create Something out of Nothing

หรือที่เราเรียกจีนโพ้นทะเลที่สร้างธุรกิจยิ่งใหญ่ว่ามีแค่เสื่อผืนหมอนใบเท่านั้น

คนที่สร้างตัวจากมือเปล่าจนกลายเป็นหนึ่งในสามฮ่องเต้นั้น ไม่เก่งก็ไม่รู้จะว่ายังไงแล้ว

ที่สำคัญก็คือเล่าปี่ไม่ใช่คนที่ฉลาดปราดเปรื่อง ไม่ว่าจะเชิงบุ๋นหรือเชิงบู๊

รบก็รบไม่เก่ง

วางแผนก็ไม่ใช่จุดแข็ง

เช่นนั้นแล้ว เล่าปี่ขึ้นเป็นใหญ่ได้อย่างไร

สิ่งที่เล่าปี่มีก็คือ “ภาพลักษณ์ที่ดี” และความเป็นเชื้อพระวงศ์ราชวงศ์ฮั่น ที่แม้จะห่างจากพระเจ้าเหี้ยนเต้เหลือเกิน แต่เล่าปี่ก็รู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์ได้

ทว่าไม่ใช่อยู่ดีๆจะไปประกาศว่าตนเป็นเชื้อพระวงศ์ ถ้าไม่มีคนยอมรับล่ะ ไม่หน้าม้านรึ

คนเรานั้นหากจะคิดทำการใหญ่ได้ต้อง “สะสมคนเก่ง”

การที่เล่าปี่ซึ่งเป็นลูกคนทอเสื่อขาย เป็นพี่น้องร่วมสาบานกับกวนอู เตียวหุย โดยที่มีปณิธานตรงกัน ถือว่าเป็นการมองคนขาด เพราะในเวลานั้นทั้งกวนอู เตียวหุย ก็ยังไม่ได้สร้างวีรกรรมลือลั่นแต่อย่างใด

เล่าปี่คงมีลักษณะดึงดูดบางประการ ถึงทำให้จูล่ง มาเป็นทหารเอกคู่ใจ

จุดเด่นของเล่าปี่ก็คือเป็นคนมีภาพลักษณ์

เล่าปี่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก ความเป็นคนโอบอ้อมอารี มีเมตตา และเป็นเชื้อพระวงศ์(แม้จะปลายแถวก็ตามที) ได้กลายเป็น Positioning ที่แข็งแกร่ง ที่ยากจะหาใครเทียมทานในช่วงเวลานั้น

แม้เล่าปี่จะมีเชื้อพระวงศ์ แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว เขาคือลูกชาวบ้าน ที่เรียนหนังสือไม่เก่ง แต่คิดการใหญ่

ทว่าเล่าปี่สามารถแปลงจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็งได้

การที่เขามาจากลูกชาวบ้านนั้น ทำให้เขารู้ว่าชาวบ้านต้องการผู้ปกครองแบบไหน เขาจะเป็นผู้ปกครองในฝันของชาวบ้าน

Positioning เช่นนี้ได้ขจรขจายไปแบบปากต่อปาก ไม่เพียงชาวบ้านจะรัก บรรดาผู้มีฝีมือต่างเข้าด้วยกับเล่าปี่ไม่น้อย

และเป็นเหตุให้ได้ขงเบ้งมาเป็นกุนซือในเวลาต่อมา

ความที่เล่าปี่เรียนไม่เก่ง ทำให้เขาอ่อนน้อมถ่อมตนเข้าหาปราชญ์

การไม่มียศฐาบรรดาศักดิ์ ทำให้เขาเป็นคนเก็บความรู้สึก ไม่แสดงออกทางใบหน้า

อย่างไรก็ตาม โจโฉกลับหวาดเกรงเล่าปี่มากที่สุด

เพราะมองว่าคนอย่างเล่าปี่นั้นคิดการใหญ่ สะสมคนดีมีฝีมือ

อาจจะเป็นภัยต่อตนในภายภาคหน้าได้

Published in: on November 17, 2009 at 2:01 am  Comments (5)  

โรตีบอย (และคณะ)มาและไปในชั่วข้ามปี(ตอน1)

rotriboyภาพการยืนต่อแถวยาวเหยียดตั้งแต่เช้าจนค่ำ ในย่านสยามสแควร์และสีลม เพื่อรอซื้อขนมปัง (ที่ทั้งร้านมีให้เลือกเพียงแบบเดียว แถมยังถูกจำกัดโควต้าในการซื้ออีก) ได้เป็นที่ฮือฮา และเริ่มเป็นที่พูดถึงกันทั่วบ้านทั่วเมือง เป็น Talk of the Town ตลอดหลายเดือน ท้ายปลายปี 48 ต่อต้นปี 49

ปรากฏการณ์เช่นนี้มิได้เพิ่งเคยเกิดกับร้าน “โรตีบอย” (Rotiboy) ในประเทศไทย

แต่ในแทบทุกสาขา ในหลายประเทศที่โรตีบอยเข้าไปเปิดร้าน ก็เกิดเหตุอย่างเดียวกัน

โรตีบอยเป็นใครมาจากไหนกันแน่?

โรตีบอยเป็นแฟรนไชส์เบเกอรี่สัญชาติมาเลเซีย ถือกำเนิดขึ้นในปี 2541 ณ เมือง Bukit Mertajam ในรัฐปีนัง

คำว่า “โรตี” (Roti) นั้นหมายถึง “ขนมปัง” (bread)

(ส่วนโรตีแผ่นแบน ๆ ที่คนไทยคุ้นกันนั้น เรียกว่า roti canai)

ภารกิจคือการผลิตขนมปังและขนมเค้กที่คุณภาพดีและมีรสชาติอร่อย จำหน่ายแก่ลูกค้าที่เป็นเพื่อนบ้านในละแวกนั้น

ผู้ก่อตั้ง และกรรมการผู้จัดการนาย Hiro Tan ก่อตั้งโรตีบอยขึ้น โดยได้รับความช่วยเหลืออย่างมากจากทั้งพี่สาว และน้องชาย (Tan LH และ Tan YC) ผู้ซึ่งคลุกคลีอยู่ในวงการเบเกอรี่มาเกือบ 20 ปี

ด้วยการควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด ทำให้ Rotiboy สร้างชื่อในละแวกนั้น ตลอด 4 ปีในการทำธุรกิจ

ปี 2545 คือจุดเปลี่ยนที่สำคัญของธุรกิจ ต้นปีนั้น โรตีบอยย้ายสาขาไปตั้ง ณ เมืองหลวงของประเทศมาเลเซีย คือกลางกรุงกัวลาลัมเปอร์

และปรากฏการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น

ยอดขายของขนมปังชนิดหนึ่งในร้าน (ที่เรียกว่า Mexican Bun) เพียงอย่างเดียวพุ่งสูงขึ้นเกือบ 20,000 ชิ้นต่อวัน โดยไม่มีทีท่าว่าจะตกลงตลอดช่วงเวลา 2 ปี (วันแรก ๆ ที่เริ่มเปิดขายได้ประมาณ 300 ชิ้นต่อวัน)

กระแสความนิยมในขนมปังก้อนรสกาแฟ ที่ถูกจุดชนวนขึ้นโดย Rotiboy นั้น ได้ก่อให้เกิดการหลั่งไหลของบรรดาผู้ประกอบการผู้หวังจะรวยเร็วจากขนมสุดฮิตชนิดนี้

แล้วเป็นใคร มาจากไหนกันบ้าง?

โรตีบอย (Rotiboy) ต้นตำรับนั้น เป็นแฟรนไชส์มาจากมาเลเซีย นำเข้ามาเป็นรายแรก ในทำเลทองที่กำลังซื้อสูง อย่างสยามสแควร์ และสีลม (คนละ franchisee กัน) ขายดีระดับปรากฏการณ์ ต่อแถวกันเป็นร้อยคน รอคิวกันเป็นชั่วโมง

อย่างไรก็ตาม สาขาหลัง ๆ ที่เปิดตามมา เช่น เซ็นทรัลลาดพร้าว หรือหน้าบิ๊กซีรามคำแหงนั้น ผู้คนเริ่มบางตา มีต่อแถวบ้างแต่เพียงสั้น ๆ

ส่วน Mr.Bun นั้นเป็นสัญชาติไทย ขายชิ้นละ 10 บาท (น้ำหนัก 20 กรัม เทียบกับ Rotiboy นั้นหนัก 50 กรัม) มี 3 รสชาติให้เลือก คือ เน้นขยายสาขาไปตามแหล่งช็อปปิ้งของวัยรุ่น กระจายทั่วกทม. โดยเฉพาะในห้างสรรพสินค้าเขตรอบนอก

หลังจากนั้น บรรดา “ครอบครัวโรตี” (Roti’s Family) ก็ได้เริ่มตบแถวลงตลาดอย่างต่อเนื่อง ทั้งพ่อ ทั้งแม่ … (ไม่รู้จะมีพี่น้อง ปู่ย่าตายาย หรือญาติ ๆ ลงมาอีกรึป่าว)

PapaRoti สัญชาติมาเลเซีย โดยเริ่มดำเนินธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2546 มีพื้นฐานจากครอบครัวทำร้านเบเกอรี่ ผลิตคุ้กกี้ และขนมปังมานานกว่า 40 ปี
ในประเทศไทย PapaRoti ดำเนินการโดย บริษัท เอเชียฟู้ดส์ คอนเนคชั่นจำกัด เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย โดยเป็นลักษณะของ Master Franchise สัดส่วนการร่วมทุนไทย 51% ต่อต่างชาติ 49%

ชัชวาล แดงบุหงา เป็นผู้บริหารซึ่งผ่านประสบการณ์จากชานมไข่มุก ให้ความเห็นว่า

“เรื่องของความนิยมที่เป็นแฟชั่น ได้ประสบการณ์ จากชานมไข่มุก ซึ่งนำมาปรับ กับธุรกิจตัวนี้ได้ โดยต้องวางแผนว่าจะควบคุมการผลิตไม่ให้ผลิตออกมามากเกินไปจนเกินความต้องการของผู้บริโภค

นอกจากนี้ เพิ่มไลน์ผลิตภัณฑ์ ตัวอื่นๆ เช่น การเพิ่มรสชาติ ซึ่งจะเป็นรสชาติใหม่ที่มีเฉพาะในประเทศไทย และเพิ่มไลน์ในหมวดของเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เป็นเครื่องดื่ม แบรนด์ PaPa นำเข้ามาจากมาเลเซีย คาดว่าจะเริ่มได้ในเดือนมิถุนายนนี้” เขากล่าว

“เราไม่ได้กลัวเรื่องการแข่งขันเพราะแต่ละยี่ห้อ รสชาติไม่เหมือนกัน ใครชอบยี่ห้อไหนก็เลือกกินยี่ห้อนั้น การแข่งขันน่าจะอยู่ที่ ใครได้พื้นที่เร็ว ใครชิงพื้นที่ได้มากกว่า ใครมีแฟรนไชส์ในมือมากกว่า นั่นต่างหากที่ถือว่า เป็นการแข่งขัน”

นอกจากนั้น papa roti ยังจะรุกบริการส่งถึงที่ และหน่วยขายเคลื่อนที่อีกด้วย

Rotimom นั้นมาจากสิงคโปร์ เปิดสาขาแรกตรงอโศก

สังเกตว่า โลโก้ รวมทั้งลักษณะตัวอักษรของร้าน Rotiboy, Rotimom และ Papa Roti นั้นเหมือนกันมาก

น่าจะสะท้อนถึงสงครามแฟรนไชส์ และ Copy Cat ข้ามชาติกันมาก่อนแล้วในหลายประเทศ

Coffee Dome เป็นแฟรนไชส์สายพันธุ์ไทย ที่ซื้อสูตรมาจากสิงคโปร์

พิ้งค์ เศรษฐนันท์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดต่างประเทศ เล่าว่า “ตนเองได้มีโอกาสไปไปลองชิมขนมปังรสกาแฟที่สิงคโปร์ ซึ่งผู้เป็นเจ้าของสูตรคือ “เควิน โกะ” ที่สูตรขนมปังดังกล่าวได้ผ่านการวิจัยจากนักเคมี และผ่านการทดสอบรสชาติจากผู้เชี่ยวชาญมานับครั้งไม่ถ้วน จนได้สูตรขนมปังที่ขึ้นชื่อในสิงคโปร์”

“สูตรในปัจจุบันถือได้ว่าเป็นสูตรที่ได้ปรับปรุงมาเป็นอย่างดี เพื่อคนไทยโดยเฉพาะ ทั้งในเรื่องของรสชาติ และกลิ่นขนมปังของคอฟฟี่ โดม จะลดในเรื่องของกลิ่นไปเล็กน้อย เพื่อให้เป็นที่ชื่นชอบของคนไทย”

นอกจากนั้นยังมี เบเกอร์บัน (สิงคโปร์) Sweet Bun (ไทย) โรตีบัน ปาป้าบัน ฯลฯ อีก

ส่วนร้านขนมปังทั่วไป ก็ผลิตออกมาจำหน่ายเช่นกัน

“แม็กซิกัน บัน เป็นดาวรุ่งในธุรกิจเบเกอรี่ และมีกลุ่มเป้าหมายหลากหลาย เพราะมุ่งเจาะตลาดแมสเป็นหลัก แต่กระนั้นขนมชนิดนี้ก็มีขายอยู่ในตลาดมานานแล้ว เพียงแต่แบรนด์ที่ขายไม่ได้ทำตลาดกันอย่างจริงจัง กระทั่งการไหลบ่าเข้ามาของแบรนด์เพื่อนบ้าน ที่หยิบเอาความโดดเด่นในเรื่องความหอมและรสชาติอร่อยมาเป็นจุดขายในปัจจุบัน ซึ่งก่อนหน้านี้ทาง กาโตว์ ก็เคยผลิตขายอยู่เช่นกัน แต่ได้หยุดไป แต่เมื่อเป็นที่ต้องการตลาด จึงได้นำกลับมาเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคอีกครั้ง โดยผลิตออกมา 2 รสชาติ คือ รสนม ราคา 16 บาท และรสชอคโกแลต ราคา 18 บาท” ผู้บริหารร้านการ์โตว์เฮาส์ กล่าว

ส่วน “โรตีดอย” ที่เห็นพูดกันขำ ๆ แม้ยังไม่ได้กลายเป็นชื่อร้าน แต่ก็เป็นชื่อเรียกขนมปังแบบนี้ ในร้านบางแห่ง
นั่นยังไม่พอ ประเด็น “คุณค่าทางอาหาร” ก็ถูกโจมตีอย่างหนักจากบรรดานักโภชนาการ
(เห็นแล้วชวนให้นึกถึงกรณีชาเขียว ที่โดนเรื่องปริมาณน้ำตาล และคาเฟอีน)

มีการส่งอีเมล์ที่มีเนื้อหาโจมตีเนื้อความบางส่วนว่า …

“ทางสาธารณสุขในยุโรปประกาศว่าเป็นขนมปังที่มีอันตรายต่อสุขภาพ เพราะจากการทดสอบในปี 47 พบว่า มีค่าของคลอเรสเตอรอล และไตรกรีเซอร์ไรด์ สูงกว่าขนมปังธรรมดาถึง 200 เท่า อันเนื่องมาจากน้ำตาล เนย และครีมไขมัน ที่ผสมลงไป เพื่อเพิ่มความหอมหวาน และยังพบอีกว่า ผู้ที่ทานเป็นประจำอาทิตย์ละ 4-5 ชิ้น จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อมปริมาณไขมันสูงขึ้น 30% และปริมาณน้ำตาลสูงขึ้น 45% ซึ่งจะก่อให้เกิดโรคอ้วน เบาหวาน ไขมันสูง และความดันโลหิตสูง ขณะที่ในญี่ปุ่น เมื่อมีการประกาศจากทางการในลักษณะเดียวกัน ส่งผลให้ความต้องการบริโภคลดปริมาณลงอย่างรวดเร็ว ส่วนประเทศในเอเชียอาคเนย์ ที่ยังเห่อขนมชนิดนี้ ก็มีเพียงประเทศไทยเท่านั้น ทั้งยังลงท้ายด้วยว่า ขนมที่ว่าถึงแม้จะอร่อยลิ้น แต่สิ้นความปลอดภัยต่อสุขภาพ และระวังอร่อยปากจะลำบากกาย”

ฤา Mexican bun จะกลายเป็น Junk Snack

เป็น Junk Bun?!?

ยังไม่รวมว่าผู้บริโภคจะ “เบื่อ” ขนมปังแบบนี้ เร็วแค่ไหนอีก

แต่กาลเวลาได้พิสูจน์แล้วว่า ผู้บริโภคเบื่อขนมปังแฟชั่นนี้เร็วจริง ๆ เพราะไม่นานหลังจากเกิดสารพัดยี่ห้อขึ้นมา ยอดขายก็หล่นวูบ

ทยอยปิดกิจการไป

ที่เห็นสู้ตาย และปรับตัวคือ The Bun ซึ่งได้พยายามพัฒนาตัวสินค้าใหม่ ๆ รวมทั้งได้ร่วมกับพรานทะเลทำขนมปังที่ใช้ซีฟู้ดเป็นเครื่องปรุงออกมาอีกหลายตัว ซึ่งก็ดูท่าจะอยู่ได้ในระยะยาว แต่คงไม่ฟู่ฟ่าขายดีเหมือนช่วงที่กระแสกำลังมา

บทสรุปของการเกิดขึ้น – ตั้งอยู่ – และดับไป ของสินค้าตัวนี้คืออะไร?

Published in: on November 13, 2009 at 5:41 pm  Comments (4)  

Guru สายพันธุ์ใหม่(1)

drucker brain

นับตั้งแต่ปีเตอร์ เอฟ.ดรักเกอร์ อสัญกรรมเมื่อเมื่อปลายปี 2005 ยุทธจักรกูรู(Guru)เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างหนัก เพราะสถานภาพของกูรูแต่ละคนนั้นไม่ได้ยิ่งหย่อนกว่ากัน
“เจ้ายุทธจักร” กูรูที่ครอบครองโดยปีเตอร์ เอฟ. ดรักเกอร์ ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านจักต้องเปลี่ยนแปลง

คำว่า Guru มีรากศัพท์มาจากคำว่า “ครุ” ในภาษาสันสกฤต ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “ครู” ในภาษาไทย

เมื่อนำไปใช้ในภาษาอังกฤษมีความหมายว่า “ผู้รู้”

หากแปลให้ไพเราะสักหน่อยก็คือ “ปรมาจารย์”

หรืออาจจะใช้คำว่า “บรมครู” ก็ย่อมได้
และแท้จริงคำว่า Guru เพิ่งเป็นที่นิยมใช้กันเมื่อยี่สิบกว่าปีมานี้เอง

ปัจจุบัน แต่ละวงการล้วนอุดมไปด้วย Guru ทว่าที่เป็นต้นแบบอย่างแท้จริงคือ Management Guru

เมื่อกล่าวถึง Guru ด้านบริหารและการจัดการนั้น Guru ลำดับแรกๆ ที่ใครๆ ต่างนึกถึงคือ ปีเตอร์ เอฟ.ดรักเกอร์

เขาได้รับการยกย่องว่า เป็นบิดาแห่งการจัดการ

ในวงการยอมรับว่า เขาเป็น Guru ในมวลหมู่ Guru เพราะเขาคือผู้คิดค้นทฤษฎีทางการจัดการมากมาย นับตั้งแต่ทศวรรษ 1950

ทฤษฎีต่างๆเหล่านั้นหลายทฤษฎี ยังใช้มามจนถึงทุกวันนี้ อาทิ…

MBO (Management by Objective)

…การแปรรูปกิจการ (Privatization)

…การให้ความสำคัญต่อลูกค้า (Put Customer First) ไปจนถึงบทบาทของซีอีโอที่มีต่อกลยุทธ์องค์กร

…การกระจายอำนาจในองค์กร (Decentralization)
…การทำในสิ่งที่ตนเองถนัด (Stick to its knitting) ไปจนถึงแนวคิดด้าน Knowledge Worker ที่เขาบัญญัติคำนี้ขึ้นตั้งแต่ปี 1969 หรือเมื่อ 37 ปีที่แล้วแต่ทั่วโลกเพิ่งจะนิยมเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง เมื่อสังคมก้าวเข้าสู่ยุคสังคมความรู้

ดรักเกอร์เป็น Guru คนแรกที่ป่าวประกาศถึงทิศทางของสังคมและการจัดการหลายเรื่องในต้นทศวรรษ 1950

เขาเป็นคนแรกที่ชี้ให้เห็นว่า เทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์จะเปลี่ยนแปลงธุรกิจขนานใหญ่

ปี 1961 ดรักเกอร์อีกเช่นกันที่บอกว่า ให้จับตาดูญี่ปุ่นไว้ให้ดี เพราะในอนาคตอันใกล้ ยักษ์ผิวสีเหลืองชาตินี้จะก้าวเข้าสู่ความเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ

เท่าที่กล่าวมาก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้ก้าวขึ้นมาเป็น Guru ในหมู่ Guru อย่างสง่างาม

สาเหตุที่เขาได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งการจัดการนั้น เพราะเขาเป็นคนแรกที่ตระหนักว่า การจัดการเป็นสาขาวิชาที่ได้ใส่ใจอย่างลึกซึ้งและมีการศึกษาอย่างเป็นระบบ

50 ปีที่ผ่านมา ดรักเกอร์เขียนหนังสือ 30 กว่าเล่ม ในจำนวนนั้นมีเพียง 2 เล่มที่เป็นนวนิยาย…

ดรักเกอร์ยังสอนที่มหาวิทยาลัยแคลมองท์, ที่โรงเรียนธุรกิจซึ่งตั้งชื่อว่า Peter F.Drucker School of Management จวบจนสิ้นอายุขัย

Published in: on November 12, 2009 at 11:50 pm  Comments (3)  

เมื่อ CEO แกะกำทำธุรกิจและเขียนหนังสือ

ผมไม่รู้จักเฮียประเสริฐ เอี่ยมรุ่งโรจน์ เป็นการส่วนตัวมาก่อน
จู่ๆวันหนึ่งก็ได้สัมภาษณ์เฮียทางวิทยุ ในฐานะผู้เขียนหนังสือ Zigzag เมื่อแกะดำทำธุรกิจ
หลังจากนั้นก็ได้อ่านหนังสือเล่ม
“บ๊ะ หนังสือดี” คนดีก็เยี่ยม น่าไปสัมภาษณ์ทำคอลัมน์ Voice from CEO
เมื่อนัดสัมภาษณ์ได้ ผมก็หนีบหัวหน้ากองบรรณาธิการคนใหม่ ณัฐพัทธ์ ยิ้มเจริญ ไปด้วย ส่วนอาทิตย์ ไปต่างจังหวัด แต่บ่นเสียดาย
การสัมภาษณ์เริ่มต้นเรื่อยๆ แต่ความเข้มข้นเพิ่มขึ้นตามลำดับ
เกือบยสองชั่วโมงของการสัมภาษณ์ เนื้อหาเยอะมากๆ แต่น่าเสียดายที่พื้นที่ได้แค่นี้แหละ
ใครที่อยากอ่านฉบับเต็ม อดใจรออีกนิด จะไปโพสต์ในบล็อก Thaicoon.wordpress.com

thaicoon: ประวัติความเป็นมาของคุณประเสริฐ?

ประเสริฐ: ผมจบวิศวะ จากจุฬาฯ มา แล้วก็ไปเป็นผู้จัดการโรงงานอยู่ที่บริษัท Crown Cork & Seal เขาทำฝาจีบ มีโรงงานอยู่ที่สมุทรปราการ
สุดท้ายก็คือไปทำงานในอาชีพนี้ก็ไม่ชอบ เพราะไม่ใช่ตัวเรา ในที่สุดผมก็เปลี่ยนวิชาชีพมาทำโฆษณา จำได้ว่าตอนนั้นเดินไปเจอเพื่อนคนนึงที่ถนนสีลม เขาถามว่ามาทำอะไร ผมก็บอกว่ามาเดินเล่น เขาก็บอกว่ามาทำงานโฆษณามั้ย ผมก็บอกว่าก็ไปคุยสิ
สุดท้ายผมก็ไปคุยกับคุณ แดง สุนันทา ตุลยธัญ แกก็รับผมไป

thaicoon: ทำไมเปลี่ยนฟีลงานได้ง่ายจัง

ประเสริฐ: ตอนทำงานนั้นผมจบ MBA มาที่ธรรมศาสตร์ ภาคค่ำ ผมก็เรียนไปทำงานไป สัญญกับตัวเองว่าจบมาเราก็ให้โอกาสกับตัวเองสักนิดหนึ่ง ถ้าทำวิศวะไม่ดีก็คงต้องเปลี่ยนอาชีพ โชคดีที่คุณแดงแกให้โอกาสผม ซึ่งผมก็ต้องขอบพระคุณแกมาก
ตอนที่ผมมาทำโฆษณานั้น ผมไม่มีความรู้เลยว่าอาชีพโฆษณานั้นต้องทำอะไร และผมมาเริ่มงานตอนอายุมากแล้ว ผมจำได้ว่าตอนนั้น 29 และเด็กที่มานั่งทำกับผมนั้นอายุ 21-22 ปี จบปริญญาโทก็ 24-25 ผมมาเริ่มงานโฆษณาช้ามาก
ผมไปเป็น AE ผมจำได้ว่าผมเดินขึ้นไปห้องอาร์ท พวกน้าๆ เขาบอกว่าอาร์ทเวิร์คเอาเมื่อไหร่ ผมถามว่า พี่ มันคืออะไร ไม่มีความรู้เลย ไปดูหนังโฆษณาก็ไปกับรุ่นพี่ รุ่นพี่บอกว่าประเสริฐไปดู Double Head หน่อย ผมก็งง ว่ามันคืออะไร สรุปก็คือไม่มีความรู้ด้านนี้เลย
สุดท้ายผมก็ทำอาชีพโฆษณามาได้ยี่สิบปี เปลี่ยนไปทำการตลาดอยู่ช่วงหนึ่ง ไปอยู่ที่โอสถสภา ไปบริหานมไทยเดนมาร์ก ทำกับคุณกนก อภิรดี ทำอยู่ได้สักช่วงหนึ่งทาง JWT ก็เชิญผมไปร่วมงานด้วย ตอนนั้นก็เป็นบริษัทใหม่ มีคนอยู่ทั้งบริษัทก็ไม่เกิน 30 คน เป็นบริษัทน้องใหม่ ก็มีความรู้สึกว่าอยากกลับมาทำโฆษณาใหม่อีกทีหนึ่ง ก็ช่วยพี่จุ๊สร้าง JWT จากเอเยนซี่ 300 ล้าน เป็น 3500 ล้าน
สุดท้ายก็เรียนตรงๆ ว่าเบื่อฝรั่ง จะทำอะไรก็ต้องเขียนไปถามตลอด ผมก็คิดว่าถ้าต้องเขียนไปถามตลอด พี่ก็มาทำเองสิ พี่ก็มาทำเองสิ

New Business Model

thaicoon: …แล้ว

ประเสริฐ: เพราะฉะนั้นผมบอกตัวเองว่า “ผมออกมาทำเองดีกว่า” ก็ออกมาทำธุรกิจ มีเดีย เอเจนซี่
บริษัทเมืองไทยที่ทำโฆษณาในสมัยก่อนก็คือ เป็นโมเดลบริษัทโฆษณาครบวงจร แต่ผมไม่ทำ ผมทำในเรื่องของ มีเดีย เซอร์วิสอย่างเดียว
Service Theory ของโฆษณานั้นประกอบไปด้วยสามองค์ประกอบใหญ่ก็คือ Account Planning , Creative และ Media
Account Planning ก็คือ การวางยุทธศาสตร์ของตัว Communication
ผมทำเรื่องที่หนึ่งกับเรื่องที่สาม (Account Planning & Media) ผมไม่ทำเรื่องที่สอง (Creative)
คำถามคือ…ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
วิเคราะห์ง่ายๆ ก็คือว่า Media Service เป็น Weak Spot ของบริษัทโฆษณาครบวงจรสมัยก่อน ไม่มีใครสนใจเรื่องมีเดีย ทุกคนสนใจเรื่องสร้างหนัง ทำให้ได้รางวัล ชนะการประกวด แล้วคุณจะได้ธุรกิจมากขึ้น ทุกคนเน้นเรื่องครีเอทีฟ
ผมก็มาดูเรื่องของมีเดียว่า วิเคราะห์แบบง่ายที่สุด ลูกค้ามีเงิน 100 บาท 80 บาทมาอยู่ที่มีเดียว ผมก็ถามตัวเองว่า หลักการ 80/20 ซึ่งทุกคนรู้จัก แต่การทำแบบเมื่อก่อนนั้นเท่ากับว่าพวกคุณใช้เวลา 80% กับความสำคัญ 20% ผมว่ามันผิดปกติ เพราะฉะนั้นผมเลยมาทำเรื่องมีเดีย
ตอนออกมาทำมีเดียครั้งแรก ปี 1996 ตอนนั้นผมเดินไปหาลูกค้าทุกราย จำได้เลยว่าลูกค้ามองหน้าผมเขาก็บอกว่า ดีใจนะที่เราออกมาทำธุรกิจ แต่นึกไม่ออกเลยว่าจะใช้บริการเราได้อย่างไร เพราะบริษัทโฆษณาของเขาก็มีฝ่ายซื้อสื่ออยู่แล้ว แล้วจะมาซื้อสื่อของเราได้อย่างไร?
ผมพูดเรื่องนี้อยู่สิบปี แล้ววันแรกผมจำได้เลยว่า วันที่ผมออกข่าวไปนั้น อุตสาหกรรมโฆษณาบอกว่าบริษัทเรานั้นเจ๊งแน่ เพราะไม่มีใครเข้าใจว่าผมทำอะไร แต่วันนี้มีบริษัทมีเดีย เอเจนซี่ของฝรั่ง อีกสิบบริษัทที่ทำตามเรา

thaicoon: จุดแข็งของเราคืออะไรครับ ตอนที่เราตั้งมา เรารอดมาได้อย่างไร?

ประเสริฐ: มีเดีย เอเจนซี่นั้น จริงๆ แล้วไม่ใช่ซื้อขายสื่อ ผมเปรียบเทียบแล้วกันว่า เวลาที่พวกเราเดินไปหาหมอ เราเคยบอกหมอมั้ยครับว่า หมอ…ผมปวดหัวขอพาราเม็ดหนึ่ง เราไม่เคยบอก
แต่เวลาเราปวดหัวนั้น เราจะไปพูดคุยกับหมอ แล้วหมอก็เริ่มจะ diagnose อาการของเรา ว่าเราปวดหัว หรือเราเวียนหัว วิเคราะห์เสร็จก็ค่อยจ่ายยา สิ่งที่เราต่างจากมีเดีย เอเจนซี่ทั้งหมด 11 รายในกรุงเทพฯ คือเรามีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาเรื่องแบรนด์
เราไม่เคยบอกลูกค้าว่าต้องซื้อช่อง 3 ช่อง 7 สปอร์ตโน้น สปอร์ตนี้ แต่ต้องมาวิเคราะห์ก่อนว่า “สุขภาพ” ของ “แบรนด์” ของคุณไม่สบายนั้นเป็นโรคอะไร ทำไมถึงค้าขายไม่ดี
วิเคราะห์เสร็จแล้วค่อยไปดึงตัวยาที่เป็นมีเดียโปรดักท์มาแก้ปัญหาให้เขา มีเดียเอเจนซี่ที่สามารถทำอย่างนี้ได้ต้องมีกลุ่มคนสองประเภท ประเภทที่หนึ่งคือ เป็นพวก “นักยุทธศาสตร์เรื่องแบรนด์” (Brand Strategist)
จริงๆ ผมไม่ใช่มีเดีย โดยอาชีพของผมเป็น Strategist เข้าใจเรื่องแบรนด์ เคยรันการตลาดมา
คนอีกกลุ่มหนึ่งก็คือพวกมีเดีย เอาคนสองคนมาก็จะได้โมเดลอันนี้ มีเดียเอเจนซี่ในประเทศไทยที่เหลืออีกสิบราย จะมีคนอยู่แค่กลุ่มเดียว คือคนมีเดียว คำถามก็คือ ถ้าคุณมีคนมีเดียอย่างเดียว เวลาเราไปหาหมอ เวลาที่เราไม่เจอหมอ และให้เภสัชกรจ่ายยา ลองนึกภาพว่า “ปัญหา” คืออะไร
อันนั้คือจุดแข็งของเรา
และเมื่อเป็นจุดแข็งของเรา พอเราทำอย่างนี้ได้ ก็ต้องบอกว่า “ต้องอดทน” เพราะใหม่ๆ นั้น ผมไปเล่าเรื่องให้คนฟัง คนไม่เข้าใจ คนก็บอกว่าใช้เจ้าเก่าก็ได้
แต่วิธีของผมนั้นง่ายนิดเดียว ผมขอแค่โอกาส โครงการคุณเงินหมื่นนึง แสนนึง หรือล้านนึง ผมทำหมด ทำเพื่อ Demonstrate ให้เห็นว่า เรานั้นทำดีกว่าเจ้าเก่า แล้วที่เหลือคุณก็นึกเองว่า คุณอยากทำอะไร

I’m a Brand Strategist

thaicoon: Brand Strategist คืออะไร?

ประเสริฐ: ผมเชื่อว่าแบรนด์ที่ดีต้องเกิดขึ้นโดยการวางแผน คนที่วางแผนได้ดีที่สุดคือ “นักยุทธศาสตร์” ผมเปรียบเทียบในเชิงของการทำสงคราม เวลาเราทำสงคราม ไม่ใช่ว่าสั่งทหารไปสู้รบตบมือ ไปตะลุมบอนกันในสนามรบ มันต้องมีพิมพ์เขียวในการรบ ว่าจะรบชนะให้ได้นั้นทำอย่างไร รู้ว่าข้อได้เปรียบ (Strength) ของเรานั้นอยู่ที่ไหน และรู้ว่า Weak spot ของเราทำอย่างไร
Brand Strategist ก็คือ คนเขียนพิมพ์เขียว เขียนพิมพ์เขียวเพื่อจะทำให้แบรนด์มีโร้ดแมพ ว่าจากจุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดปลายของแบรนด์ได้จะต้องมีกิจกรรม มียุทธศาสตร์อะไรบ้าง

thaicoon: คำจำกัดความของ Strategist ในความหมายของคุณประเสริฐคืออะไร?

ประเสริฐ: คนที่เป็นนักคิด รู้ว่าคิดอย่างไร

thaicoon: คิดอย่างไร วิธีคิดมีเป็นพันแบบ

ประเสริฐ: ถ้าเป็นวิธีผมก็เป็นวิธีผม ถ้าเป็นของท่านอื่นก็เป็นวิธีของท่านอื่น

thaicoon: Strategic Thinking คิดอย่างไร?

ประเสริฐ: Strategic Thinking ของผมวิธีคิดง่ายนิดเดียว คือต้องเอาสมองสองข้างมารวมกัน ธรรมชาติให้สมองคนเรามาสองข้าง เอาตรรกะรวมกับความคิดสร้างสรรค์ ถ้าเราเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ผมว่ามันไม่รอด
เคยมีคนบอกว่าคนที่เป็น “นักกลยุทธ์” ที่ดีที่สุดต้องเอา Creativity เป็นตัวนำ และเอาตรรกะเป็นตัวเสริม
เพราะว่าถ้าเราใช้ “ตรรกะ” เป็นตัวนำ ตรรกะ จะทำให้โอกาสที่เราจะสร้างแบรนด์ให้มีความน่าสนใจนั้นมันน้อย
สมองสองข้างทำงานร่วมกัน และก็แบรนด์ก็ต้องเกิดขึ้นบนพื้นฐานของข้อมูล และความรู้สึก สองเรื่องนี้ค้านกัน วิธีคิดของผมก็คือ ต้องเอาของที่มันค้างกันให้มันมาอยู่ร่วมกันได้ แบรนด์เหล่านั้นก็จะมีความเจริญเติบโต
thaicoon: แบรนด์ในความหมายของคุณประเสรืฐคืออะไรครับ?

ประเสริฐ: ผมเองก็ทำงานบริษัทฝรั่งมาเยอะ ผมเคยเห็นแบรนด์ที่เขียนมาหนามาก เขียน Brand Positioning Statement เขียนมา 7 บรรทัด
ผมถามตัวเองทุกที ผมก็ถามกับลูกน้องว่า 7 บรรทัดที่เป็นภาษาฝรั่งมานั้น แม่บ้านที่หนองคายเขาจะเข้าใจหรือไม่ ผมบอกได้เลยว่าเป็นไปไม่ได้
ประเด็นของผมก็คือว่า แบรด์ชอบเขียนในบริบทของนักการตลาด แต่ไม่เคยเขียนในบริบทของผู้บริโภค เป็นไปไม่ได้ที่ผู้บริโภคจะจำเจ็ดบรรทัดนั้นได้ ผมเองยังจำปีที่กรุงศรีอยุธยาแตกไม่ได้เลย
ผมเชื่อว่าแบรนด์ที่ดีคือ “ไอเดียทางธุรกิจที่มีชีวิต และมีความนิรันดร์กาล” เวลาผมพูดคำนี้ทุกคนก็จะมาถามว่ามันคืออะไร

thaicoon: Business Concept…

ประเสริฐ: มันคือ Business Idea ที่มี Longevity ในตัวของมันเอง ผมยกตัวอย่าง ผมเคยไปคุยกับคุณภาณุ (อิงควัต) แกออกมาทำธุรกิจ Greyhound แกบอกผมเลยว่า “คุณประเสริฐ คุณว่าเกรย์ฮาวนด์นั้น แบรนด์ไอเดียคืออะไร?”
ผมบอกว่า “ผมเองก็ไม่รู้เหมือนกัน แต่ผมก็ชอบไปทานร้านคุณ” แกบอกว่า แบรนด์ไอเดียของเกรย์เฮานด์ เป็นคำแค่ 3 คำเท่านั้นเอง Basic with a Trist เป็นอาหารที่พื้นฐาน แต่ไปดัดแปลง หรือปรุงแต่งมันทำให้มันมีเสน่ห์ นี่คือตัวตนของเกรย์เฮานด์ ผมบอกว่า เออ ใช่ ผมเข้าใจทันที
ประเด็นก็คือว่า ถ้าสมมติว่าเราจะเขียนแบรนด์ไอเดียขึ้นมาได้ต้องเขียนแบรนด์ไอเดียที่เข้าใจผู้บริโภค และเราสามารถส่งมอบได้ และต้องไม่ใช่คำพูดยาวๆ ที่เขียนมาแล้วคนงง ไม่เข้าใจ และแบรนด์ที่ดี ผมว่ามันต้องเหมือนกับคน อย่างผมคิดว่าพวกเราก็คือแบรนด์เหมือนกัน อย่างผมชื่อประเสริฐ ตัวตนผมเป็นอย่างไร เราต้องสามารถมีตัวตนของเราที่ชัดเจน
ผมเชื่อว่าสมัยนนี้แบรนด์ประเภทที่ไม่ค่อยชัดเจนจะเกิดไม่ค่อยได้ อยู่ไม่ค่อยได้ เพราะผู้บริโภคเขาจะบอกเลยว่ารักหรือไม่รัก
ซึ่งมันเกิดจากตัวตนของเรา มันจะเป็นอะไรก็คงต้องคล้ายๆ เรา ยกตัวอย่างเช่น แบรนด์อย่างเวอร์จิ้น คนอย่างริชาร์ด แบรนสัน ผมว่าคนเหล่านี้เป็นบุคคลตัวอย่างที่บอกตัวเองว่า กรอบในการทำธุรกิจจริงๆ นั้นไม่มีกรอบ ถ้าใครก็แล้วแต่ที่ทำธุรกิจแล้วมีกรอบ ผมว่าคุณก็เสียเปรียบคนอื่นแล้ว
คนพวกนี้เป็น Catalyst for Change คือเป็นตัวเร่ง เป็นสารเคมีที่เติมเข้าไปเพื่อที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการทำธุรกิจ
Virgin Atlantic ณ จุดหนึ่งทำให้ British Airways (BA)หนาว เพราะว่าบริติช แอร์เวย์ ติดกับการผูกพันว่าทุกคนต้องใช้ BA การที่มี Catalyst for Change จะดีสำหรับธุรกิจตรงที่จะทำให้ยักษ์ใหญ่หยุดนิ่งไม่ได้ ยักษ์ใหญ่ก็จะต้องพัฒนาคุณภาพของตัวเอง ผลก็คือเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศนั้นๆ ก็จะดี
ลองนั่งนึกดูว่าถ้าโลกไม่มี Apple ก็คงเหนื่อย ถ้าโลกไม่มีคนอย่างริชาร์ด แบรนสัน ผมว่าอังกฤษก็คงเหนื่อยเหมือนกัน
ส่วนตัวของผม ผมเชื่อว่าประเทศไทยต้องการคนประเภทนี้ (Catalyst for Change) ไม่เช่นนั้นเราก็จะมีแต่บริษัทใหญ่ๆ

เมื่อ แกะดำ ทำธุรกิจ

thaicoon: นึกอย่างไรถึงเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา?

ประเสริฐ: ผมทำธุรกิจสิบปีบนพื้นฐานของความเชื่อส่วนตัว ว่าการทำอะไรที่แตกต่าง แบบมีเหตุมีผลทุกคนก็จะมีโอกาสทางธุรกิจทั้งนั้น ก็ผ่านกระบวนการที่พิสูจน์ตัวมันเองว่าเราคิดถูกแล้ว พอจะมีเวทีให้เรายืน ก็เลยอยากจะแบ่งปันประสบการณ์อันนี้ให้กับผู้คนข้างนอก
ผมมีความเชื่ออยู่อย่างหนึ่งว่า ถ้าทำอะไรเหมือนกับคนอื่น แค่คิด…วันแรกคุณก็เจ๊งแล้ว เวลาที่ผมพูดเรื่องนี้ ผมเชื่อว่าผู้คนไม่เห็นด้วยกับผม เพราะผู้คนของบ้านเมืองนี้ชอบทำอะไรตามๆ กัน
คำว่า “เขาว่ากันว่า” เป็นคำพูดที่ผมอยากจะให้คนมองเห็นอีกด้านหนึ่งของความคิด แล้วอยากจะบอกทุกคนว่าถ้าคุณกระโดดข้ามมาอยู่อีกฝั่งหนึ่ง และคุณมีความเชื่อมั่นมาก โอกาสจะเป็นของคุณแน่ โอกาสจะมากน้อยจะขึ้นอยู่กับความอดทนของคุณ ขึ้นอยู่กับความคิดของคุณ
สำคัญที่สุก็คือพอเราสามารถที่จะขายไอเดียนี้ได้ ผมเชื่อว่าบ้านเมืองเราน่าจะดีขึ้น บ้านเมืองเราทุกวันนี้ที่มันลำบาก เพราะทุกคนเชื่อว่าเขาพูดว่าอย่างนี้ ก็เลยเชื่อเลย ไม่ได้คิดด้วยมันสมองของตัวเองว่าที่เขาพูดอย่างนั้นนั้นจริงหรือเปล่า ไม่ว่าจะเป็น “ลูกพี่ของผมว่าอย่างนี้”, “กฎของบริษัทว่าอย่างนี้” , “เขาพูดต่อๆ กันมาว่าอย่างนี้”
thaicoon: ถ้าสิ่งที่ทุกคนเชื่อนั้นผิด จะเกิดอะไรขึ้น?

ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลง

thaicoon: คุณประเสริฐรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่คนพูด สิ่งที่เขาเชื่อนั้น ผิดหรือถูก มีวิธีการวิเคราะห์อย่างไร?

ประเสริฐ: วิธีคิดง่ายที่สุดก็คือ เราจะต้องเป็นคนช่างสังเกต และมีจารีตประเพณี (Convention) ที่ทำกันมาติดต่อกันมาหลายสิบปี เราต้องตั้งคำถามกับจารีตประเพณีอันนั้น ว่าจารีตประเพณีนั้นถูกต้องหรือไม่
วิธีการที่เราจะตั้งคำถามกับสิ่งเหล่านั้น เราก็จะต้องใช้สามัญสำนึก ตัวผมคือ Contrarian Strategist เราต้องร่ำรวยสามัญสำนึก (Common Sense) ซึ่งทุกคนมีอยู่เหมือนๆ กัน

Lateral Thinking

thaicoon: How to ask the RIGHT question?

ประเสริฐ: ต้องเห็นมาเยอะ คำว่าเห็นมาเยอะเกิดจากการอ่าน เกิดจากการไปในสถานที่ต่างๆ ผมเชื่อว่าเราไม่ได้อยู่ในประเทศไทยอย่างเดียว เวลาผมเดินทางทุกครั้งผมเชื่อว่าผมเดินทางโดยมีความเพลิดเพลินกับเรื่องสองเรื่อง คือ หนึ่ง ผมไปเที่ยว กับ สอง ผมไปเปิดหูเปิดตาว่าโลกมันมีวิวัฒนาการอย่างไร
ทีนี้พอเราเห็นอะไรมาเยอะ ผมเชื่อว่าสมองคนก็เหมือนกับคอมพิวเตอร์ ก็จะบรรจุข้อมูลเข้าไป แล้วเราก็จะหยิบใช้ข้อมูลในลิ้นชักต่างๆ ได้ อันนั้นคือข้อที่หนึ่ง
ข้อที่สองต้องเป็นคนช่างสังเกต และตั้งคำถามเหมือนเด็ก ลูกผมยังเด็กเขาก็ถามโดยไม่มีกรอบว่าทำไมสัญญาณไฟจราจรถึงต้องหยุด ทำไมไม่เป็นไฟสีอื่น
เมื่อเรามีฐานข้อมูลเยอะ และเราถามแบบเด็ก มันก็จะได้อีกเรื่องหนึ่งว่า พอถามมาแล้วเราต้องหาคำตอบ และรู้ว่าคำตอบเป็นอย่างนี้
เหมือนอย่างที่ผมตั้งคำถามว่าทำไมอู่ซ่อมรถถึงปิดวันอาทิตย์ เขาบอกว่าต้องปิดวันอาทิตย์เพื่อจะให้พนักงานหยุด ผมก็ต้องถามตัวเองต่อว่าทำไมต้องหยุดวันอาทิตย์ เพราะว่าวันอาทิตย์คือวันที่เจ้าของรถมีโอกาสได้ไปที่อู่ ถ้าไม่หยุดวันอาทิตย์ก็จะเป็นโอกาสของคุณในการทำธุรกิจ
ต้องคิดแบบที่ไม่ใช่หัวสี่เหลี่ยม (Lateral Thinking) พวกที่เป็นแบบ Linear Thinker คือ หนึ่งบวกหนึ่งอย่างไรก็ต้องเป็นสอง สามคูนสองอย่างไรก็ต้องเป็นหก ของพวกนี้ก็จะทำให้เราได้วิธีคิดแบบใหม่ๆ

Published in: on June 16, 2008 at 11:08 pm  Comments (14)  

The World is Flat

flat
The World is Flat คือหนังสือเกี่ยวกับ Globalization ที่ดีที่สุดในรอบหลายปี สองฉบับก่อนได้ Excerpt ให้อ่านกันไปแล้ว

ฉบับนี้ผมสัมภาษณ์ แจ๊ค มินทร์ อิงธเนศ ประธานบริษัทหลายแห่ง

การสัมภาษณ์ครั้งนี้คุยกันบนเวที MAI พร้อมๆกับผู้บริหารอีกสองท่าน แต่ผมขอหยิบแจ๊คมาเพียงผู้เดียวก็เกินพอ

แจ๊ค มินทร์ อิงธเนศ เป็นคนไต้หวันที่เข้ามาทำมาหากินในเมืองไทยเมื่อสองทศวรรษที่แล้ว

เขาเป็นคนมีวิสัยทัศน์ เข้าสู่ตลาดข้อมูลและความรู้ก่อนใคร จากนั้นเชื่อมธุรกิจต่างๆให้ร้อยกันเป็น Value Chain

ก่อนหน้าสัมภาษณ์กันบนเวที แจ๊ค มินทร์ อิงธเนศ แสดงวิสัยทัศน์บนโต๊ะสนทนา

ทว่าเมื่ออยู่บนเวที ไอเดียบรรเจิดยิ่งกว่า

แจ๊ค: ผมคิดว่า คำว่าโลกแบนหรือไม่นั้น นอกจากจะแบนแล้วยังเล็กลงด้วย และที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ เบาขึ้น
ที่เล็กลงนั้น ยกตัวอย่างเช่น หากเราไปคุยกับคนที่อายุ 70 วันนี้ เขาจะบอกว่าเวลาที่จะไปเรียนหนังสือที่อังกฤษ ต้องสอบชิงทุน กว่าจะได้ทุน ต้องลงเรือไป ต้องไปที่หาดใหญ่ก่อน ต้องนั่งรถไฟไปถึงสิงคโปร์ หรือต้องไปจากปีนังเพื่อจะไปที่อังกฤษ เพราะเราไม่ใช่เมืองขึ้นเขาก็ต้องไปขึ้นที่เมืองขึ้นของอังกฤษ (หัวเราะ)
ถ้า ณ วันนี้ ถ้าเราอยู่กรุงเทพฯ ไปทานข้าวเที่ยงที่สิงคโปร์ เย็นประชุมที่ฮ่องกง
วันนี้บินจากกรุงเทพฯ ไปที่นิวยอร์ก สิบกว่าชั่วโมงก็ถึงแล้ว เรื่องอย่างนี้ในอดีตนั้นเป็นไปไม่ได้ แต่วันนี้เป็นไปไม่ได้

thaicoon: เห็นได้ว่าโลกเล็กลง

แจ๊ค: พูดถึงเรื่องอินเตอร์เน็ต วันนี้คนที่ไม่ได้ใช้อีเมล์นั้นถือว่าโชคดีมาก (5555) วันนี้นั้นใช้อีเมล์นั้นทรมานขนาดไหน สมัยก่อนอยากได้อีเมล์กันมาก เพราะอยากให้คนที่อยากติดต่อเรานั้นได้ติดต่อเรา แต่วันนี้วันนึงมีคนส่งมาสองสามร้อยฉบับ ไม่รู้อันไหน

เพราะฉะนั้นดูในรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงตอนนี้ ผมคิดว่าคำว่า Flat นั้น เราก็เห็นพ้องกันว่า ความหมายของคำว่า Flat ที่ว่าโลกเรานั้นแบนแล้วนั้น…ไม่ใช่

แต่หมายความว่าโลกนั้นอยู่ในลักษณะที่ทำให้ทุกคนมีสิทธิ์เท่ากันมาก และเรื่องเดียวกัน โลกนั้นเล็กลงในรูปแบบของวิวัฒนาการ มีประวัติศาสตร์ของมนุษย์มาเป็นพันๆ ปี ถ้าถอยหลังนั้นเราไม่อยากได้ แต่ความก้าวหน้านั้นเป็นสิ่งที่เราปฏิเสธไม่ได้

ผมคิดว่าวันนี้เมื่อเปรียบเทียบกับสองสามพันปีที่แล้ว หนึ่งชั่วโมง วันนี้เท่ากับสมัยก่อนหนึ่งปี เว็บ 1.0, 2.0 …,5.0
ในโลกความจริง ย้อนกลับไปไม่ต้องนาน ในช่วงที่เรายังจำได้นั้น คนที่รวยที่สุดในสมัยนั้นๆ คือคนที่มีอำนาจในการควบคุมทรัพยากรธรรมชาติ ใครที่มีอำนาจ (ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเล่นการเมือง), ใครที่มีเหมืองแร่, ใครที่มีน้ำมัน, ใครที่มีสิทธิการพัฒนารถไฟ คนเหล่านั้นเป็นมหาเศรษฐีหมดเลย ใครที่ทำรถยนต์ก็ขายได้

thaicoon: ฟอร์ด, ร๊อกกี้ เฟลเลอร์ พวกนั้น

แจ๊ค: แต่ ณ วันนี้ ไปดู Fortune 500 ในตลาดอเมริกา คนที่มีน้ำหนักต่อตลาด คนที่มีผลต่อโลก ณ วันนี้ และคนที่มีค่าต่อโลกวันนี้ ต้องดูใหม่แล้ว บริษัทที่อายุเป็นร้อยปีเหลือเพียงแค่หนึ่งบริษัท หรือสองบริษัทเท่านั้นเอง ส่วนใหญ่มีอายุไม่เกิน 20-30 ปีเท่านั้นเอง และส่วนใหญ่ไม่มีสินค้า
เขาขายอะไร?…

เขาขายสิ่งที่คุณเซ็นชื่อ แล้วคุณต้องจ่ายเงินเขา เวลาที่ไมโครซอฟท์ขายของนั่นคือ สัญญาชุดหนึ่ง และคุณมีสิทธิ์ที่จะผลิตเท่าที่คุณต้องการ และก็ให้ Serial Number แก่คุณ ถ้าไม่พอคุณก็เอาไปถ่ายก๊อปปี้ โดยคุมที่ End User ถ้าเมื่อไหร่เข้าอินเตอร์เน็ต ผมลบคุณเลย

วันนี้เราซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ประมาณสองหมื่นถึงสามหมื่น เราต้องจ่ายค่า Licensing ให้กับ Microsoft ถึง 20-30% ของราคาเครื่อง แปลว่าแพงกว่าฮาร์ดิสก์ แพงกว่าจอมอนิเตอร์ นั่นคือ ราคาของ Intangible ซึ่ง แพงกว่า Tangible Assets ในขณะที่ต้นทุนของ Intangible ก็คือความคิด ค่าการผลิตไม่มี เพราะการผลิตของเขาคือกระดาษหนึ่งใบที่เป็นลายเซ็นให้กับพวกเรา

ต้องเข้าใจกันว่า ณ วันนี้ในรูปแบบของโลกนั้นเปลี่ยนไป Intangible Assets นั้นสำคัญกว่า Tangible Asset เพราะฉะนั้นโลกนั้นเบามาก ใครที่มีความสามารถ มีจินตนาการอะไรเกิดขึ้นมา แล้วทำได้ และมีมูลค่านับหมื่นล้าน อย่าง Facebook ขอให้มันขายได้ และเป็นไอเดีย

เพราะฉะนั้นโลกจึงมีรูปแบบ และลักษณะอาการแบบนี้

Published in: on April 23, 2008 at 11:20 pm  Comments (9)