Innovation is not enough

ในบรรดาหัวใจทางความคิดของเหล่าปรมาจารย์ทางการจัดการและกลยุทธ์ที่นำเสนอในหนังสือ “คิดใหม่เพื่ออนาคต”(Rethinking The Future) นั้น การสร้างนวัตกรรมถือว่ามีความสำคัญอยู่ในอันดับหนึ่ง

ไมเคิล อี.พอร์เตอร์ กูรูกลยุทธ์ที่โดดเด่นที่สุดของโลกในรอบสามสิบปีกล่าวว่าหนึ่งในความได้เปรียบที่สำคัญที่สุดของศตวรรษที่ 21 คือความได้เปรียบทางนวัตกรรม(Innovation Advantage)

นวัตกรรมโยงใยกับทิศทางด้านกลยุทธ์อย่างต่อเนื่อง นวัตกรรมที่กำลังดำเนินอยู่จำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์เชิงยุทธ์ด้วย

แกรี่ ฮาเมล กูรูกลยุทธ์รุ่นใหม่ที่มาแรงที่สุดกล่าวว่าการ invent อนาคตใหม่ด้วยจินตนาการนั้นไม่ใช่เรื่องส่วนตัวของผู้นำองค์กร แต่ทว่าเป็นความคิดสร้างสรรค์ของคนที่ล้อมรอบซึ่งผู้นำมีปฏิสัมพันธ์ด้วย

ปีเตอร์ เอฟ.ดรักเกอร์ อภิมหาปรมาจารย์เจ้าของฉายา “บิดาแห่งการจัดการ” เขียนบทความ Innovation or Die อีกครั้งหลังจากเขียน Innovation and Entrepreneurship เมื่อหลายทศวรรษก่อน

ดูเหมือนว่าโลกธุรกิจจะถูกขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

ก่อนที่ “จิวยี่” จะรากเลือดตายในเรื่องสามก๊กนั้น เขาได้กล่าวอมตะวาจาประโยคหนึ่งว่า “ฟ้าให้จิวยี่มาเกิด ไฉนให้ขงเบ้งมาเกิดด้วยเล่า”

หากจะปรับให้เข้ากับท้องเรื่องของบทความชิ้นนี้ก็คือ “ฟ้าให้กำเนิดนวัตกรรม ไฉนอุ้มบุญ CopyCat ออกมาด้วยเล่า”

ดูเหมือนวัตกรรมคือจุดสูงสุดของธุรกิจ บริษัททั้งหลายทั้งปวงจึงมุ่งเน้นในการวิจัยและพัฒนาเพื่อนำไปสู่นวัตกรรม เลสเตอร์ ทูโรว์ เขียนใน “คิดใหม่เพื่ออนาคต” ว่าเกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีอัตรา GDP เฉลี่ยต่อหัว 30-40%ของเนเธอร์แลนด์เท่านั้น แต่ทว่าเกาหลีใต้ลงทุนด้าน R&D ในอัตราส่วนที่มากกว่าเนเธอร์แลนด์ ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมเกาหลีใต้จึงเป็นประเทศที่อุมด้วยนวัตกรรมและก้าวไปสู่แถวหน้าของเอเชียในปัจจุบัน

แต่นวัตกรรมไม่ได้ดำรงอยู่ได้นาน เปรียบเสมือน “กระดานหมากล้อม” เมื่อมีหมากขาวก็ย่อมต้องมีหมากดำ มีนวัตกรรมก็ต้องมีผู้ลอกเลียนแบบหรือ Copy Cat

BusinessWeek เรียกเศรษฐกิจที่มีการลอกเลียนแบบเป็นสรณะว่า Copy Cat Economy

เทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้การก๊อปปี้ง่ายเพียงชั่วข้ามคืน

Entry Barrier ในการก้าวเข้าสู่ชมรม Copy Cat แทบจะกลายเป็นศูนย์

คำถามที่น่าสนใจก็คือแล้วจะสร้างนวัตกรรมกันไปทำไม เพราะนวัตกรรมในด้านหนึ่งก็คือความสุ่มเสี่ยงต่อความล้มเหลวและต้นทุนมหาศาลที่ลงไปก็เรียกกลับคืนมาไม่ได้

สู้ปล่อยให้องค์กรที่คลั่งไคล้ไหลหลงนวัตกรรมทุ่มเทงบประมาณกับ R&D และทดลองตลาดไปให้เห็นว่าประสบความสำเร็จอย่างแน่นอนแล้วค่อยกระโดดไปก็ไม่สาย

ในแง่นี้ Copy Cat ย่อมเป็นคำตอบสุดท้าย

เมื่อ SONY ประกาศส่งนวัตกรรมจอแบนลงสู่ตลาดเมื่อสองปีก่อนนั้นเป็นที่ฮือฮามากเพราะ SONY ใช้ทั้งราคาและนวัตกรรมไล่ขยี้คู่แข่งจมเขี้ยว แต่ทว่าหลังจากนั้นไม่กี่เดือน ทีวีทุกแบรนด์กลายเป็นจอแบนไปทั้งหมด

SONY จึงต้อง Innovate อีกครั้งด้วยการออกจอแบนแบบใหม่ที่เฉียบคมด้วยดีไซน์และคมชัดมากกว่าแบรนด์อื่นๆ

แต่ SONY จะนำหน้าไปได้สักกี่เดือน

เช่นเดียวกับฟอร์ดปิ๊กอัพรุ่นตู้กับข้าวที่เปิดได้สี่ประตูที่นำหน้าเหนือกว่าปิ๊กอัพแบรนด์อื่นที่ยังตามไม่ทัน

แต่ฟอร์ดจะนำหน้าในฐานะ Innovator อยู่ได้กี่เดือน

ซึ่งก็หมายความว่า Innovation is not enough

เพราะทุกบริษัทต่าง Innovate กันหมด

Copy Cat ก็ลุยลอกกันชั่วข้ามคืน

อย่างนั้นอะไรคือคำตอบสุดท้าย

อัล รีย์ กล่าวไว้ในคิดใหม่เพื่ออนาคต ว่าต้องสร้างแบรนด์ผูกขาดไร้คู่แข่งขัน

เฉกเช่นที่ไมโครซอฟท์ทำได้กับ Window

เพียงแต่ว่าการผูกขาดยุคนี้ทำได้ไม่ง่าย

แต่ไม่ได้หมายความว่าทำไม่ได้เลย!!!

Published in: on November 30, 2009 at 5:07 pm  Comments (12)  

วิถีแห่งโซนี่

morita.jpg

โซนี่(Sony)คือแบรนด์ที่มีชื่อเสียงที่สุดและแข็งแกร่งที่สุดของญี่ปุ่น

อากิโอะ โมริตะ คือผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทที่ได้รับการยกย่องมากจากโลกตะวันตกมากที่สุดในบรรดานักธุรกิจญี่ปุ่น

ในปี 1998 จากการสำรวจของแฮริส โซนี่คือแบรนด์อันดับหนึ่งในใจอเมริกันชนเหนือกว่า Coke และ GE เสียอีก

โซนี่คือตัวแทนแบรนด์ของชาวเอเชียในแง่แบรนด์ที่มีนวัตกรรมสูงที่สุด เพราะนวัตกรรมและความแตกต่างคือดีเอ็นเอของโซนี่

แม้ว่าในระยะหลังเส้นทางของโซนี่จะไม่ได้โรยด้วยกรีบกุหลาบ แต่ด้วยความแข็งแกร่งของแบรนด์โซนี่ ก็ทำให้โซนี่สามารถฟันฝ่าอุปสรรคและกลับมาสู่ลู่แห่งการแข่งขันได้อย่างสง่างาม

วิถีแห่งโซนี่คือวิถีแห่งชัยชนะ

การตลาดแบบโมริตะ

การศึกษาวิถีแห่งโซนี่นั้น แยกไม่ออกจากการศึกษาอากิโอะ โมริตะ ผู้ร่วมก่อตั้งโซนี่ผู้โด่งดัง

โมริตะเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวตะวันตกมากกว่าชาวญี่ปุ่นใดๆ บางคนบอกว่าคนคุ้นชื่อของเขามากกว่าชื่อนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเสียอีก

นิตยสารไทม์จัดให้เป็นหนึ่งในบุคคลแห่งศตวรรษ

โมริตะถูกจัดอยู่ในทำเนียบนักการตลาดอันดับต้นๆของโลก ซึ่งโชคดีเอามากๆที่เขามีเพื่อนคู่ใจผู้ร่วมก่อตั้งซึ่งเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมที่ชื่ออิบูกะ ทั้งคู่จึงกลายเป็นคู่หูดูโอที่มีส่วนผสมลงตัวอย่างที่สุด

โมริตะจบฟิสิกส์ ไม่มีประสบการณ์ด้านการตลาดมาก่อน

เขาก่อตั้งบริษัทโซนี่ ด้วยเงินน้อยกว่า 600 เหรียญ มีพนักงานไม่ถึง 20 คน ผลิตภัณฑ์ของเขาก็คืออุปกรณ์สื่อสาร ขายให้รัฐบาลซึ่งในสมัยนั้นอยู่ในช่วงฟื้นฟูประเทศ

การขายของให้รัฐบาลนั้น ทำให้โซนี่จำต้องดีลกับฝ่ายจัดซื้อให้ซี้ย่ำปึ้ก อย่างไรก็ตามหากฝ่ายจัดซื้อเปลี่ยนคน เขาและอิบูกะ(ผู้ร่วมก่อตั้ง) ก็ย่ำแย่ไปด้วย เพราะต้องสานสัมพันธ์กันใหม่ ถ้าเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ บริษัทถูกกระทบเพราะการทำธุรกิจไม่มีความแน่นอน

Published in: on February 9, 2008 at 11:08 pm  Comments (12)  

Innovation is not enough

ในบรรดาหัวใจทางความคิดของเหล่าปรมาจารย์ทางการจัดการและกลยุทธ์ที่นำเสนอในหนังสือ “คิดใหม่เพื่ออนาคต”(Rethinking The Future) นั้น การสร้างนวัตกรรมถือว่ามีความสำคัญอยู่ในอันดับหนึ่ง

ไมเคิล อี.พอร์เตอร์ กูรูกลยุทธ์ที่โดดเด่นที่สุดของโลกในรอบสามสิบปีกล่าวว่าหนึ่งในความได้เปรียบที่สำคัญที่สุดของศตวรรษที่ 21 คือความได้เปรียบทางนวัตกรรม(Innovation Advantage)

นวัตกรรมโยงใยกับทิศทางด้านกลยุทธ์อย่างต่อเนื่อง นวัตกรรมที่กำลังดำเนินอยู่จำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์เชิงยุทธ์ด้วย

แกรี่ ฮาเมล กูรูกลยุทธ์รุ่นใหม่ที่มาแรงที่สุดกล่าวว่าการ invent อนาคตใหม่ด้วยจินตนาการนั้นไม่ใช่เรื่องส่วนตัวของผู้นำองค์กร แต่ทว่าเป็นความคิดสร้างสรรค์ของคนที่ล้อมรอบซึ่งผู้นำมีปฏิสัมพันธ์ด้วย

ปีเตอร์ เอฟ.ดรักเกอร์ อภิมหาปรมาจารย์เจ้าของฉายา “บิดาแห่งการจัดการ” เขียนบทความ Innovation or Die อีกครั้งหลังจากเขียน Innovation and Entrepreneurship เมื่อหลายทศวรรษก่อน

ดูเหมือนว่าโลกธุรกิจจะถูกขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

ก่อนที่ “จิวยี่” จะรากเลือดตายในเรื่องสามก๊กนั้น เขาได้กล่าวอมตะวาจาประโยคหนึ่งว่า “ฟ้าให้จิวยี่มาเกิด ไฉนให้ขงเบ้งมาเกิดด้วยเล่า”

หากจะปรับให้เข้ากับท้องเรื่องของบทความชิ้นนี้ก็คือ “ฟ้าให้กำเนิดนวัตกรรม ไฉนอุ้มบุญ CopyCat ออกมาด้วยเล่า”

ดูเหมือนวัตกรรมคือจุดสูงสุดของธุรกิจ บริษัททั้งหลายทั้งปวงจึงมุ่งเน้นในการวิจัยและพัฒนาเพื่อนำไปสู่นวัตกรรม เลสเตอร์ ทูโรว์ เขียนใน “คิดใหม่เพื่ออนาคต” ว่าเกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีอัตรา GDP เฉลี่ยต่อหัว 30-40%ของเนเธอร์แลนด์เท่านั้น แต่ทว่าเกาหลีใต้ลงทุนด้าน R&D ในอัตราส่วนที่มากกว่าเนเธอร์แลนด์ ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมเกาหลีใต้จึงเป็นประเทศที่อุมด้วยนวัตกรรมและก้าวไปสู่แถวหน้าของเอเชียในปัจจุบัน

แต่นวัตกรรมไม่ได้ดำรงอยู่ได้นาน เปรียบเสมือน “กระดานหมากล้อม” เมื่อมีหมากขาวก็ย่อมต้องมีหมากดำ มีนวัตกรรมก็ต้องมีผู้ลอกเลียนแบบหรือ Copy Cat

BusinessWeek เรียกเศรษฐกิจที่มีการลอกเลียนแบบเป็นสรณะว่า Copy Cat Economy

เทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้การก๊อปปี้ง่ายเพียงชั่วข้ามคืน

Entry Barrier ในการก้าวเข้าสู่ชมรม Copy Cat แทบจะกลายเป็นศูนย์

คำถามที่น่าสนใจก็คือแล้วจะสร้างนวัตกรรมกันไปทำไม เพราะนวัตกรรมในด้านหนึ่งก็คือความสุ่มเสี่ยงต่อความล้มเหลวและต้นทุนมหาศาลที่ลงไปก็เรียกกลับคืนมาไม่ได้

สู้ปล่อยให้องค์กรที่คลั่งไคล้ไหลหลงนวัตกรรมทุ่มเทงบประมาณกับ R&D และทดลองตลาดไปให้เห็นว่าประสบความสำเร็จอย่างแน่นอนแล้วค่อยกระโดดไปก็ไม่สาย

ในแง่นี้ Copy Cat ย่อมเป็นคำตอบสุดท้าย

เมื่อ SONY ประกาศส่งนวัตกรรมจอแบนลงสู่ตลาดเมื่อสองปีก่อนนั้นเป็นที่ฮือฮามากเพราะ SONY ใช้ทั้งราคาและนวัตกรรมไล่ขยี้คู่แข่งจมเขี้ยว แต่ทว่าหลังจากนั้นไม่กี่เดือน ทีวีทุกแบรนด์กลายเป็นจอแบนไปทั้งหมด

SONY จึงต้อง Innovate อีกครั้งด้วยการออกจอแบนแบบใหม่ที่เฉียบคมด้วยดีไซน์และคมชัดมากกว่าแบรนด์อื่นๆ

แต่ SONY จะนำหน้าไปได้สักกี่เดือน

เช่นเดียวกับฟอร์ดปิ๊กอัพรุ่นตู้กับข้าวที่เปิดได้สี่ประตูที่นำหน้าเหนือกว่าปิ๊กอัพแบรนด์อื่นที่ยังตามไม่ทัน

แต่ฟอร์ดจะนำหน้าในฐานะ Innovator อยู่ได้กี่เดือน

ซึ่งก็หมายความว่า Innovation is not enough

เพราะทุกบริษัทต่าง Innovate กันหมด

Copy Cat ก็ลุยลอกกันชั่วข้ามคืน

อย่างนั้นอะไรคือคำตอบสุดท้าย

อัล รีย์ กล่าวไว้ในคิดใหม่เพื่ออนาคต ว่าต้องสร้างแบรนด์ผูกขาดไร้คู่แข่งขัน

เฉกเช่นที่ไมโครซอฟท์ทำได้กับ Window

เพียงแต่ว่าการผูกขาดยุคนี้ทำได้ไม่ง่าย

แต่ไม่ได้หมายความว่าทำไม่ได้เลย!!!

Published in: on August 6, 2007 at 9:59 pm  Comments (15)  

The Power of Design

tenface.jpg

เมื่อเร็วๆนี้ทอม เคลลี่ มาเยือนเมืองไทยเงียบๆ

ในวงกว้างอาจไม่มีใครสนใจเขามากเท่าไหร่

ทว่ายุทธจักรดีไซน์ ต้องถือว่าเขาเป็นมือหนึ่ง

ขนาดผมสนใจด้านการดีไซน์แบบงูๆ ปลาๆ

ชื่อคุณทอมยังดังสนั่นหูอยู่จนถึงวันที่รู้ว่าเขาจะเดินทางมาเยือนเมืองไทย วันที่ 7 ตุลาคม ตามคำเชิญของ TCDC(Thailand Creative & Design Center)

พูดถึง TCDC ก็ต้องถือว่าทำอะไรให้สังคมไทยมากพอตัวอยู่เหมือนกัน แม้จะถูกโจมตีว่าใช้เงินมหาศาลก็ตาม

ผมเคยบอกผู้บริหาร TCDC เมื่อสองเดือนเศษๆที่ผ่านมาว่า สิ่งที่ TCDC ต้องทำโดยด่วนก็คือ “กู่ร้องให้ก้องโลกถึงเหตุผลที่ TCDC ควรอยู่ หากรัฐบาลทักษิณ มีอันเป็นไป”

เพราะผมรู้ดีว่า TCDC ย่อมตกเป็นเป้าแน่ๆ เพราะเป็นลูกรักของพันศักดิ์ วิญญรัตน์ และที่สำคัญก็คือใช้เงินเยอะมาก แต่ผู้คนรู้จัก TCDC ในวงจำกัดมาก

ยกตัวอย่างเช่น การมาของทอม เคลลี่ นั้น จริงๆแล้วต้องตีฆ้องร้องป่าวมากกว่านี้ เพราะคนๆนี้มีความสำคัญ ไม่ใช่เพราะเก่งฉกาจหรือหรูเลิศอะไรหรอก ทว่าชื่อชั้นของเขาเอามาทำประโยชน์ทางการประชาสัมพันธ์ได้

ทอม เคลลี่ คือผู้จัดการทั่วไปของ IDEO บริษัทดีไซน์ชั้นนำของโลก

ผมรู้จักชื่อ IDEO มานานหลายปี จากการอ่านนิตยสาร BusinessWeek ฉบับว่าด้วยเรื่องดีไซน์ ผลปรากฏว่าต้องเห็นชื่อ IDEO ทุกครั้ง และเมื่อดูจำนวนเหรียญทองซึ่งเป็นรางวัลการออกแบบนั้น บริษัทที่ได้เหรียญอย่างต่อเนื่องและมากที่สุดก็คือ IDEO นั่นเอง

ดังนั้น การมาเมืองไทยของทอม เคลลี่ ไม่ใช่เรื่องธรรมดา

น่าเสียดายที่ TCDC จัดให้เขาพูดเพียง 40 นาที ซึ่งเวลาขนาดนี้จะไปพูด อะไรได้มาก นอกจากพูดถึงหนังสือของตนเองเท่านั้น

หนังสือเล่มล่าสุดของทอม คือ The Ten Faces of Innovation ซึ่งเป็นเรื่องการผนวกดีไซน์กับนวัตกรรมเข้าด้วยกัน

ทอม ยกคำจากนิตยสาร The Economist ที่ว่า “ Innovation is now recognizes as the single most important ingredient in any modern economy”

ขณะที่ Ideo นั้น “ Seeing innovation a tool for transforming the entire culture of organization”

The Ten Faces of Innovation น่าจะได้รับอิทธิพลมาจาก Six Thinking Hats ของเดอ โบโน เพราะแบ่งคนออกเป็นประเภท ส่วนเดอ โบ โน แบ่งวิธีคิดออกตามสีหมวก

คนทั้ง 10 ประเภทในองค์กรที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมคือ
1. The Anthropologist
2. The Experimenter
3. The Cross-Pollinator
4. The Hurdler
5. The Collaborator
6. The Director
7. The Experience Architect
8. The Set Designer
9. The Caregiver
10.The Storyteller

ถ้าถามทอมว่าชอบมนุษย์ประเภทใดมากที่สุด

The Anthropologist คือคำตอบสุดท้าย

แรกเริ่มเดิมที ทอมก็ไม่ได้นิยมชมชื่น The Anthropologist เลย เขาคิดว่าการจ้างพวกจบดอกเตอร์มานั่งเฝ้ามองพฤติกรรมมนุษย์ ถ่ายภาพหรือคลิป วิดีโอ และเล่าให้ฟังว่าสิ่งที่ตนเองเห็นนั้นเป็นอย่างไร

อะไรมันจะง่ายปานนั้น

ขณะที่คนอื่นทำงานยากแทบตาย

แต่แล้วในที่สุด ทอมก็เปลี่ยนความคิด 180 องศาเกี่ยวกับบทบาทของ The Anthropologist

“พวกเรามีนักแก้ปัญหาอยู่มากมาย แต่เราต้องรู้ก่อนว่าปัญหาที่จะไปแก้นั้นคืออะไร

ทอมเห็นว่าความเก่งของ The Anthropologist คือ มองปัญหาในกรอบใหม่ ซึ่งเป็นผลมาจากการลงไปสังเกตพฤติกรรมมนุษย์ในพื้นที่

“The right solution can spark a breakthrough”

Published in: on March 12, 2007 at 2:29 pm  Comments (7)  

I innovate therefore iPhone

I innovate therefore iPhone

“Everybody hates their phone …”

สตีฟ จ๊อบส์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บ.แอปเปิ้ล (เป็น Apple Inc. เฉย ๆ ซึ่งวันนี้ไม่มีคำว่า “คอมพิวเตอร์” อยู่อีกต่อไปแล้ว) ให้สัมภาษณ์นิตยสารไทม์ หลังเวทีในงาน Macworld 2007 ที่เขาได้เปิดตัว iPhone มือถือตัวแรกภายใต้แบรนด์แอปเปิ้ลอย่างเป็นทางการ

“That’s not a good thing…” เขาพูดไปส่ายหัวไป “And there’s an opportunity there”
(ขอยกภาษาอังกฤษมาคำต่อคำ แปลเป็นไทยแล้วสื่อความไม่ชัดเท่า)

“เราได้ทดลองใช้โทรศัพท์ทุกตัวที่มีอยู่ในท้องตลาด และพบว่ามันแย่มาก มันไม่ได้ดั่งใจเลยจริง ๆ” จ๊อบส์ให้สัมภาษณ์ CNBC

“… มันเป็นหมวดหมู่สินค้าที่จำเป็นต้องถูกสร้างขึ้นใหม่” (It’s a category that needed to be reinvented)

ไม่ใช่ให้ทรงพลังขึ้น แต่ต้องทำให้ ‘ใช้งานง่ายขึ้น’ อีกหลายเท่า

และเราก็คิดว่าเราพอจะทำอะไรบางอย่างได้” เขากล่าวอย่างมั่นใจ

“เราไม่ได้ใส่ใจอะไรมากกับข้อเท็จจริงว่ามีบริษัทชั้นยอดจำนวนมากที่ทำโทรศัพท์อยู่ในตลาด เพราะความจริงอีกข้อก็คือว่าโทรศัพท์กว่า 1000 พันล้านเครื่องได้ถูกขายไปแล้วในปี 2006 … คิดดูสิ ถ้าเกิดเราขายได้แค่ 1% มันก็ปาเข้าไป 10 ล้านเครื่องแล้ว”

สตีฟ จ๊อบส์คิดว่าสิ่งที่แอปเปิ้ลได้ทำสำเร็จออกมาแล้วคือการ “สร้างโทรศัพท์มือถือขึ้นมาใหม่” (Reinvent the Phone)

“เราได้เปลี่ยนความคาดหวังที่ผู้บริโภคมีต่อไอ้เจ้าเครื่องที่พกพาใส่กระเป๋าไปอย่างสิ้นเชิง”

iPhone นั้น หลอมรวมเอาผลิตภัณฑ์ 3 ชนิดเข้าด้วยกัน

หนึ่ง โทรศัพท์เคลื่อนที่ (ที่ปฏิบัติรูปแบบการใช้งานแบบเดิม ๆ)

สอง เครื่อง iPod จอกว้าง ที่ควบคุมด้วยระบบสัมผัส (ด้วยนิ้วมือปกตินี่ล่ะ ไม่ต้องใช้แท่งกด)

สาม เครื่องมือสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต ที่สามารถใช้งานอีเมล์ ท่องเวป ดูแผนที่ และค้นหาข้อมูล ได้ในระดับเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ

ทั้งหมดรวมอยู่ในตัวเครื่องขนาดฝ่ามือ ที่ทั้ง เล็ก-บาง-เบา

“พกใส่กระเป๋าสบาย ๆ และใช้งานง่ายกว่าโทรศัพท์ทั่วไป 10 เท่า” จ๊อบส์ยืนยัน

(รายละเอียดที่น่าทึ่งของเจ้าตัว iPhone และโชว์บนเวทีเปิดตัวของนายสตีฟ จ๊อบส์ อยากให้ท่านผู้อ่านคลิ๊กเข้าไปดูที่ http://www.apple.com/iphone)

ดีไซน์นั้นทำได้เด็ดขาดจริง ๆ

ด้วยตัวเครื่องสีดำ ด้านหน้ามีจอภาพขนาดใหญ่ มีปุ่มเพียงปุ่มเดียว และขนาดที่บางเฉียบ (บางที่สุดในบรรดาสมาร์ทโฟนที่มีอยู่ในท้องตลาด)

โจทย์ในการออกแบบของสตีฟ จ๊อบส์ คือ Something wonderful in your hand

การควบคุมแทบทั้งหมดทำได้ด้วย “นิ้วมือ” ที่สัมผัสหน้าจอ

นี่เป็นผลผลิตจากการสังเกตของสตีฟ จ๊อบส์เมื่อหลายปีก่อน เขาเห็นว่ามีงบวิจัยและพัฒนาจำนวนมากถูกใช้ไปสิ่งที่เรียกว่า Tablet PCs … เจ้าคอมพิวเตอร์พกพาเครื่องบาง ๆ ซึ่งทำงานด้วยการควบคุมผ่านหน้าจอ แทนที่จะเป็นเมาส์ หรือคีย์บอร์ด

เขาสนใจ และได้ให้การบ้านทีมวิศวกรไปศึกษาเทคโนโลยีการควบคุมผ่านการสัมผัสหน้าจอ (Touch Screen)

เมื่อวิศวกรของแอปเปิ้ลเอาการบ้านมาส่ง จ๊อบส์ตื่นเต้น ตื่นตาตื่นใจจนนึกต่อยอดไปไกลกว่าแค่เครื่องคอมพิวเตอร์

นอกจากนั้น แอปเปิ้ลคงมองว่าปัจจัยความสำเร็จของโทรศัพท์มือถือในอนาคต อยู่ที่ตัว Software ไม่ใช่ Hardware อีกต่อไป

เพราะจริง ๆ แล้ว โทรศัพท์จะเป็นมากกว่าโทรศัพท์ หรือเป็นเหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกย่อขนาด และสามารถใช้โทรศัพท์ได้มากกว่า

จ๊อบส์เชื่อว่า iPhone นั้นมี Software Breakthrough ซึ่งจะนำหน้าโทรศัพท์อื่น ๆ ไป 5 ปี โดย iPhone จะทำงานบนระบบปฏิบัติการ Mac OS X ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของแอปเปิ้ล

ถ้ามองในแง่นี้ ไม่รู้ว่าแอปเปิ้ลจะมีศักยภาพในการพัฒนาซอฟแวร์พร้อม ๆ กับฮาร์ดแวร์ เพื่อจะประสบความสำเร็จ ในระดับเดียวกับที่ไมโครซอฟท์วินโดว์ ทำได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือไม่?

นอกจากนั้น ในโทรศัพท์ iPhone นี้มีการจดสิทธิบัตรมากถึง 200 กว่ารายการ

สื่อหลายฉบับจึงมองว่า นี่ไม่ใช่แค่โทรศัพท์ตัวใหม่ แต่เป็น New Product Platform ที่จะปฏิวัติวงการอีกครั้ง

เหมือนที่ Macintosh ได้ปฏิวัติวงการคอมพิวเตอร์ในปี 1984

และ iPod ทำได้ปฏิวัติวงการเพลงและเครื่องเล่นเพลงในปี 2001

และในโอกาสนี้ Apple ก็ประกาศตัดคำว่าคอมพิวเตอร์ที่เคยอยู่ในชื่อบริษัทด้วยทิ้งไป เหลือเพียง Apple Inc. เท่านั้น

คำว่าคอมพิวเตอร์ที่ตัดทิ้ง ย่อมแสดงถึงความต้องการขยายขอบเขตการทำธุรกิจออกไป ให้กว้างไกลกว่าแค่ของเดิม

แต่ Apple จะนิยามว่าตัวเองอยู่ในธุรกิจอะไร หรือจะมุ่งหน้าต่อไปทางไหน ท่านผู้อ่านคงน่าจะพอเห็นเค้าลางบ้าง

อนาคตนั้นเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน และอนาคตบางอย่างก็เป็นความลับทางการค้า เป็นเรื่องที่เปิดเผยไม่ได้

อย่างไรก็ตาม วันนี้แอปเปิ้ลและสตีฟ จ๊อบส์ ได้แสดงให้เห็นถึงรูปธรรมของการสรรค์สร้างนวัตกรรม ในระดับที่จะปฏิวัติอุตสาหกรรมให้เห็นอีกครั้งหนึ่งแล้ว

ส่วนจะเป็นจริง อย่างที่ทุกคนคาดหรือไม่ เวลาจะให้คำตอบ …

ก่อนขึ้นเวที ทีมงานได้เปิดเพลง I Got You (I Feel Good) ของเจมส์ บราวน์ เป็นอินโทร จบเพลง สตีฟ จ๊อบส์เดินขึ้นมาด้วยสีหน้าแจ่มใส และเริ่มต้นพูดสวัสดีเล็กน้อย ขอบคุณที่ทุกคนมาร่วมชุมนุมกัน และเริ่มต้นพูด

“พวกเรากำลังจะสร้างประวัติศาสตร์ด้วยกันอีกครั้งในวันนี้!”

ยังไม่ทันจบประโยคก็มีเสียงโห่ร้องก้องฮอลล์ของบรรดาสาวก

และเป็นเช่นนั้นอีกนับครั้งไม่ถ้วน ตลอดเวลาที่เขาอยู่บนเวที

Published in: on January 31, 2007 at 6:23 pm  Comments (58)